Page 50 -
P. 50
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
30
มักจะเป็นชิ้นงานที่สะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ และมีความเหมาะสมกลมกลืนกับชุมชนนั้น ๆ
ควรค่าแก่การศึกษาและอนุรักษ์ไว้ เพราะเป็นเอกลักษณ์ของชาติและเป็นส่วนหนึ่งของศิลปวัฒนธรรม
ของชาติพันธุ์ของมวลมนุษยชาติ ได้แก่ เครื่องปั้นดินเผา การหล่อพระพุทธรูป การทอและเย็บปักถักร้อย
การแกะสลัก การเขียนหรือวาด การประดิษฐ์ชิ้นงานต่าง ๆ เป็นต้น
“ศิลปาชีพ” เป็นการอนุรักษ์งานศิลปหัตถกรรมและภูมิปัญญาของคนไทย
ที่เน้นสู่การส่งเสริมเป็นอาชีพให้กับคนไทย เป็นโครงการภายใต้การดําเนินงานของ
มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งก่อตั้งขึ้น
เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๙ ที่เป็นการอนุรักษ์ต้นทุนภูมิปัญญาและเอกลักษณ์
ชาติไทยที่ทรงคุณค่ายิ่งนัก (http://th.wikipedia.org/wiki)
10. วัฒนธรรมความเชื่อ การแสดงออก และการต้อนรับ และการแสดงความยินดีของ
ไทย (Thai Culture of Believing, Expression and Hospitalities) ทัศนคติและความเชื่อของ
มนุษย์ย่อมมีการแสดงออกมาทางพฤติกรรมจนเป็นลักษณะนิสัย ส่งผลให้มีการถือปฏิบัติ สั่งสอนและ
ถ่ายทอดข้ามชั่วอายุคนเป็นระยะเวลานานก็จะกลายเป็นบรรทัดฐานทางสังคม (norm) มีขนบธรรมเนียม
ประเพณีนั้น ๆ และกลายเป็นวัฒนธรรมความเชื่อและการแสดงออก ซึ่งวัฒนธรรมความเชื่อและการ
แสดงออกของไทยมีเอกลักษณ์เฉพาะรวมไปถึงการต้อนรับอย่างไทยและการแสดงความยินดีของไทย
(สุพัตรา สุภาพ, 2536 และhttp://www.nidampa9phitsanulok.net และ
http://www.geocities.com/mppm6055/pp6032.doc) ที่แสดงออกให้เห็นเป็นรูปธรรม ดังนี้
10.1 คนไทยมีความรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ที่มีการสอนและการถ่ายทอดพฤติกรรม
เหล่านี้จากรุ่นสู่รุ่น คนไทยมีความเคารพศรัทธาอย่างลึกซึ้งและมีความจงรักภักดีต่อสถาบัน
พระมหากษัตริย์ เช่น การแสดงความเคารพนบนอบต้อนรับสถาบันพระมหากษัตริย์ในสถานที่ต่าง ๆ
10.2 คนไทยให้ความสําคัญและยึดถือความกตัญํูต่อผู้มีพระคุณเป็นสาระแห่งการ
ดํารงชีวิต มีหนังสือมีคําสอน หรือ มีบทละครจํานวนมากสอนให้คนมีความกตัญํูต่อผู้มีคุณต่อชีวิต มี
การกล่าวโทษผู้ไม่มีความกตัญํู คนไทยส่วนมากมีความกตัญํูรู้จักบุญคุณคนที่มีพระคุณ เช่น คุณพ่อ
คุณแม่ ครู-อาจารย์
10.3 คนไทยมีการให้ความเคารพกันเยี่ยงพี่น้องครอบครัวเดียวกัน โดยเฉพาะการ
ให้เกียรติและการให้ความเคารพแก่คนที่มีความอาวุโสกว่า เช่น การเรียกขานผู้อื่นด้วยการเทียบเคียงอายุ