Page 53 -
P. 53

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         33



                   ให้รู้จักอดทน  มีนํ้าใจเป็นนักกีฬา   มีระเบียบวินัย  และฝึกความเป็นผู้ มีไหวพริบในการป้องกันตัวด้วย

                   ศิลปะการต่อสู้ป้ องกันตัวของไทย ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่  มวยไทย  กระบี่กระบอง  ฟันดาบ
                   การใช้มีดสั้น  ท่าทางในการต่อสู้ของศิลปะมวยไทย  มีท่าทาง หรือ เรียกว่าท่าไม้ตาย คือ สู้กันจนตายกันไป

                   ข้างหนึ่งเลยทีเดียว ท่าทางต่าง ๆ ได้แก่  ท่าสลับฟันปลา  ท่าปักษาแหวกรัง  ท่าชวาซัดหอก  ท่าอิเหนา

                   แทงกริช  ท่ายกเขาพระสุเมรุ  ท่าตาเถรคํ้าฟัก  ท่ามอญยันหลัก  ท่าปักลูกทอย  ท่าจระเข้ฟาดหาง  ท่า

                   หักงวงไอยรา  ท่าบิดหางนาคา  ท่าวิรุฬหกกลับ  ท่าดับชวาลา  ท่าขุนยักษ์จับลิง  ท่าหักคอเอราวัณ  ท่า
                   มุดบาดาล  ท่ามณโฑนั่งแท่น  ท่าหนุมานถวายแหวน  ท่าไต่เขาพระสุเมรุ  ท่าเอราวัณเสยงา  ท่าสุครีพ

                   ถอนต้นรัง  ท่าเถรกวาดลาน  ท่าฝานลูกบวบ  ท่าสับหัวมัจฉา  ท่ากวางเหลียวหลัง  ท่าบาทาลูบพักตร์

                   ท่าขะแมคํ้าเสา  ท่าทัดมาลา  และท่าพม่ารําขวาน  (http://th.wikipedia.org/wiki, และ

                   http://yamasoon14.blogspot.com)

                          วัฒนธรรมการละเล่น การต่อสู้ การป้ องกันตัว และกีฬาของไทย  นอกจากจะเป็นความภาคภูมิใจ

                   ของคนไทยแล้ว  วัฒนธรรมดังกล่าวยังได้รับการยอมรับในระดับสากล เช่น ภาพยนตร์หลายหลายเรื่องได้

                   มีการนําศิลปะป้ องกันตัวของไทยไปใช้ ในการแสดง เช่น ภาพยนตร์เรื่ององค์บาก ที่นําแม่ไม้มวยไทยไป

                   ใช้ในการแสดงเป็นโครงเรื่องหลัก ซึ่งนํารายได้มาสู่ประเทศไทย และยังมีบทบาทสําคัญในการส่งเสริม
                   อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยได้อย่างดีอีกด้วย เช่น เราจะได้เห็นว่ามีชาวต่างชาติเข้ามาเรียนรู้มวยไทย มี

                   การเปิดค่ายสอนมวยไทยมากมาย และมีการแสดงเกี่ยวกับมวยไทยในสถานที่ท่องเที่ยวต่าง ๆ ด้วย

                          12.  วัฒนธรรมการรับรู้ตามความเป็นจริงของชีวิตอย่างไทย (Thai Culture of


                   Perception and Understanding in the Truth of Life)  อริสโตเติ้ล นักปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของกรีก

                   ได้กล่าวไว้ว่า “มนุษย์เป็นสัตว์สังคม” (human being is social animal)  เพราะมนุษย์ทุกคนที่เกิดมา
                   ต้องการอาศัยอยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก ไม่สามารถใช้ชีวิตอยู่เพียงคนเดียวตามลําพังได้  มนุษย์ต้องทํา

                   กิจกรรมร่วมกัน  ต้องพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน และเสริมสร้างความสุข  ความมั่นใจ และความปลอดภัย

                   ให้กับตนเองและผู้อื่น  สังคมจึงเป็นแหล่งรวมศูนย์ทางความคิดที่มนุษย์ได้สร้างขึ้นมา   คนไทยส่วนใหญ่

                   นับถือในพระพุทธศาสนา จึงถูกสอนให้พิจารณาธรรมชาติของชีวิตตามความเป็นจริง เช่น พอใจในสิ่งที่มี
                   อยู่ และมีความมักน้อย สันโดษ เชื่อในเรื่อง ของบุญวาสนา การทําบุญและการประกอบการกุศล เป็น

                   ความสุขทางใจและเป็นการสะสมกุศลกรรม ที่ทําให้คนไทยรักการให้ มีความกตัญํูต่อผู้มีพระคุณ

                   วัฒนธรรมการรับรู้ตามความเป็นจริงของชีวิต จึงเป็นสิ่งจําเป็น กระบวนการถ่ายทอดการรับรู้และการ
                   เข้าใจชีวิตตามความเป็นจริงของไทยมีเรื่องเล่าสอนบุตรหลานมากมาย ดังจะกล่าว (ดอยภูเงินศูนย์พุทธ

                   ธรรมนํ้าปาด, http://www.pngoen.com/page17.html และ http://www.kroobannok.com/blog/12093)

                   ต่อไป
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58