Page 56 -
P. 56

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         36



                          ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นธรรมะ 3 ประการ คือ 1) เป็นธรรมะที่เป็นคําสอนของพระพุทธองค์

                   ที่มนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติดีต่อตนเองและผู้อื่น  2) เป็นธรรมชาติของการเป็นมนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมที่ต้อง

                   อยู่ร่วมกันเป็นหมู่เป็นพวก และ 3) เป็นธรรมดา ที่แต่ละคนเกิดมาย่อมมีความคิดของตนเองและไม่ชอบ
                   ให้ใครมาข่มเหงเบียดเบียน


                          12.3  การเข้าวัดปฏิบัติธรรม  เป็นการมองความจริงของชีวิตด้วยการใช้ธรรมะที่เป็นคําสอนใน

                   พระพุทธศาสนาเป็นเสมือนแสงส่องนําทางการคิดและการปฏิบัติ ในวิถีการดํารงชีวิตอย่างไทยสมัยก่อน

                   ผู้สูงอายุมักจะยอมรับสภาวะการตายเป็นเรื่องธรรมชาติและเป็นเรื่องธรรมดา เมื่อคนมีอายุสูงวัยขึ้น จึง

                   ต้องศึกษาธรรมและปฏิบัติธรรม ธรรมะของพระสมณโคดมพุทธเจ้ามีมากถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ ที่
                   นํามากล่าวจึงเป็นเพียงเล็กน้อยมาก  การรับรู้ การเข้าใจหลักธรรม จึงเป็นวัฒนธรรมไทยที่แม้แต่

                   ชาวต่างชาติยังให้ความสนใจศึกษาและปฏิบัติธรรมในพระพุทธศาสนามากขึ้น คือการไม่ประมาทต่อการ

                   ดํารงชีวิตตามความเป็นจริง  หลักคําสอน พอสังเขป (http://www.buddhaknowledge.org/th) มีดังนี้


                                12.3.1  ความจริงอันประเสริฐ คือ อริยสัจ 4 ประการ ที่สอนและเตือนสติให้คนเข้าใจใน
                   ความจริงของ 1) ทุกข์ (suffering) ที่มีอยู่ในมนุษย์ปุถุชน คือ ทุกข์เกิดจากความไม่สบายกายไม่สบายใจ

                   ทุกข์เกิดจากความป่วยไข้  ทุกข์เกิดจากความเศร้าโศก  ทุกข์เกิดจากการทํามาหากินที่ไม่ได้ดังใจ  ทุกข์

                   เกิดจากผลแห่งการทําความผิดการทําความชั่ว  ทุกข์เกิดจากการถกเถียงโต้แย้งขัดใจ และทุกข์เกิดขึ้น

                   เป็นประจํา 2) สมุทัย (The cause of suffering) คือ เหตุแห่งการเกิดทุกข์ เพราะความอยากและไม่อยากได้
                   อยากและไม่มี  อยากและไม่เป็นอย่างนั้นอย่างนี้  รวมถึงความอยากและไม่อยากในรูป รส  กลิ่น เสียง

                   สัมผัส  3) นิโรธ (The cessation of suffering) คือ การหยุด การระงับ ความดับทุกข์ ได้แก่ดับตัณหาทั้ง 3

                   ข้างต้น เช่น ห่างไกลกิเลส  สิ้นความกําหนัด  รู้แจ้ง  หลุดพ้น  สิ้นกิเลส  ไม่มีตัวตน และ 4) นิโรธ

                   (The way to the cessation of suffering) คือ ทางนําไปสู่ความดับทุกข์  หรือเรียกว่า “มัชฌิมาปฏิปทา”
                   หรือ ความสามารถในการวางจิตเป็นกลาง การใช้ทางสายกลาง


                                         12.3.2  ลักษณะของชีวิต 3 ประการ (ไตรลักษณ์)  เป็นธรรมะ คือ คําสั่งสอนของพระพุทธ

                   องค์ ที่สอนให้ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรมรับรู้  ครุ่นคิด  นําไปปฏิบัติและสอบทวนความนิ่งและความเข้าใจ

                   ในอารมณ์ตามความเป็นจริงที่จะพัฒนาจิตและพัฒนาตน  คือ 1) ความไม่เที่ยงของทุกสิ่งอย่าง (อนิจจัง)
                   2) ความทุกข์เกิดขึ้นได้เสมอและความทุกข์เกิดขึ้นเป็นประจํา (ทุกขัง)  และ 3) ความไม่มีตัวตน ไม่ยึดติด

                   ในสิ่งทั้งปวง (อนัตตา)  ความเข้าใจและความสามารถในการปฏิบัติ จะส่งผลให้ผู้ปฏิบัติมีความสุขเกิดขึ้น

                   ในจิตใจ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระดับความนิ่งและความไม่ซัดส่ายของอารมณ์เป็นสําคัญ

                                        12.3.3  ความยึดมั่น (อุปาทาน)  เป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติธรรม  คือ ความยึดมั่นในลัทธิหรือ

                   คําสอน  ความยึดมั่นในศีลและพรต  ความยึดมั่นในความเป็นตัวตน และ ความยึดมั่นในกาม  คือ รูป  รส
                   กลิ่น เสียง และสัมผัสทั้งหลายทั้งปวง  เพราะความยึดมั่นถือมั่นทําให้เกิดภพและทําให้เกิดชาติ ทั้งนี้การ
   51   52   53   54   55   56   57   58   59   60   61