Page 59 -
P. 59

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         39



                   ของบรรพบุรุษไทย  คือ การใช้พิมพ์ทองเหลือง จุ่มแช่ในน ้ามันร้อน เมื่อน ามาแตะจุ่มในแป้งเปียก

                   (Batter)  แป้ งก็จะเกาะติดพิมพ์ที่ร้อน ครั้นเมื่อน าไปทอดแล้วแกะแป้ งออกก็จะได้แป้งมีลักษณะเป็น
                   รูปกระทง  แล้วทอดต่อจนกรอบส าหรับใส่อาหารขนาดย่อมเสิร์ฟเป็นค า ๆ ซึ่งวิธีการท าอาหารชนิดนี้

                   ส่งผลให้อาหารกระทงทองน่ารับประทาน  และน่าสนใจต่อการเรียนรู้ถึงความช่างคิดในการประดิษฐ์

                   พิมพ์กระทงทองและเป็นภูมิปัญญาที่น่าชื่นชมยิ่งนัก  อีกวิธีการหนึ่ง คือ การประดิษฐ์อุปกรณ์เครื่องมือ

                   “คีมคีบจับจีบช่อม่วง”  เป็นของว่างประเภทนึ่ง  โดยการปั้นแป้ งห่อหุ้มไส้แล้วใช้คีมคีบจับจีบดึงแป้ง
                   เป็นกลีบซ้อนกันให้มีลักษณะคล้ายดอกกุหลาบ แล้วน าไปนึ่งจนสุก เสิร์ฟกับกระเทียมเจียวและผักสด

                   อีกวิธีการหนึ่ง คือ วิธีการปั้นแป้ งห่อหุ้มไส้ แล้วจับจีบบิดแป้งของ “ปั้นสิบ” ให้มีลักษณะเป็นเกลียว

                   ซึ่งมีทั้งประเภทของปั้นสิบนึ่งและปั้นสิบทอด  อีกวิธีการหนึ่ง คือ วิธีการจีบแป้งหุ้มไส้อาหารแล้วผูกด้วย

                   ใบของต้นหอมลวกน ้าร้อน  ให้อาหารมีลักษณะเป็นถุงใส่อาหาร เรียกว่า “ถุงทอง” เป็นการห่อ มัดและ
                   ผูกอาหารที่สร้างความหลากหลายในรูปแบบการจัดเสิร์ฟเช่นกัน  ที่กล่าวมาเป็นรูปแบบวิธีการ

                   ประดิษฐ์ประดอยอาหารให้มีลักษณะสวยงามและน่ารับประทาน ซึ่งแสดงความวิจิตรช่างรังสรรค์รูปแบบ

                   การประกอบอาหารไทยที่เน้นภาพลักษณ์ของอาหารให้น่ารับประทาน  นอกจากนี้ “งานแกะสลักผัก
                   ผลไม้” ตามวิธีการแบบฉบับอย่างไทย  ยังได้แสดงถึงความอ่อนช้อยประณีตสวยงามในฝีมือช่างแกะสลัก

                   ผักและผลไม้ รวมถึงการจัดวาง การจัดเสิร์ฟอาหารให้สวยงามเป็นที่ประจักษ์ (Empirical evidence)

                   อย่างเด่นชัดไม่เหมือนชาติใดในโลก


                         2.  การให้ความส าคัญในเรื่องอาหารการกินด้วยประสาทสัมผัสทางหู  ของอาหารไทย คือ การ

                   สอนลูกหลานให้เข้าใจเข้าถึงการปรุงอาหารให้ชวนกินและยังแฝงไว้ด้วยนัยที่น่าคิด เช่น การสอนให้

                   หญิงไทยต้องรู้จักการโขลกน ้าพริกที่ฟังดูแล้วสามารถสะท้อนความเป็นหญิงไทยที่มีฝ ีมือในการปรุง
                   อาหารอย่างช านาญ คือ ต้องโขลกน ้าพริกให้มีเสียงดังถี่ ๆ ครั้นใครผู้ใดผ่านมาได้ยินเข้าก็จะนึกชื่นชมว่า

                   สาวเจ้าบ้านนี้มีฝีมือปลายจวัก  ควรค่ายิ่งนักแก่การน าไปออกเรือน หรือ น าไปแต่งงานเป็นแม่ศรีบ้าน แม่

                   ศรีเรือนด้วย  เพราะ คนไทยแต่ก่อนให้คุณค่าหญิงไทยต้องมีความสามารถและมีฝีมือในงานบ้านงานเรือน

                   เป็นส าคัญ  การให้ความส าคัญในการปรุงหาอาหารจึงมีความส าคัญในการเตรียมความพร้อมเป็นแม่บ้าน
                   แม่เรือน  นอกจากนี้ คนไทยยังมีการกระบวนการคิดในการเผยแพร่อาหารไทยให้เลื่องระบือลือนามไป

                   ไกลด้วยการประชาสัมพันธ์ผ่านบทกลอน  ร้อยแก้วและบทประพันธ์บรรยายอาหารไทยให้เป็นที่รู้จัก

                   ชวนให้อยากได้ลิ้มลองกลืนกินสมค าบรรยาย  ดังค ากล่าวที่ว่า “เสียงลือเสียงเล่าอ้าง อันใด พี่เอย” ดังเช่น

                   กาพย์ห่อโคลงเห่เรือชมเครื่องคาว -หวาน พระราชนิพนธ์ โดย รัชกาลที่ ๒    (ตัวอย่าง “เห่ชมเครื่องคาว” )
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64