Page 55 -
P. 55
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
35
ความอดทน ความอ่อนน้อมถ่อมตน ความสํารวมระวัง นั้นแตกต่างกัน ดังนั้น คนที่แตกต่างโดยยศศักดิ์
โดยฐานะ โดยความนิยมยกย่องต่างกัน ก็เพราะการมีศักยภาพที่แตกต่างกัน คนเราจึงไม่ควรสําคัญตนผิด
คิดเพียงแต่ว่าเป็นคนเหมือนกันย่อมเท่าเทียมกันทุกทาง ความรับผิดชอบ การรับรู้ การเข้าใจพื้นฐานชีวิต
ของตน ในวัยต่าง ๆ จึงเป็นสิ่งจําเป็น เช่น การอยู่ในวัยเรียนต้องรับผิดชอบการเรียนรู้และฝึกฝนปฏิบัติตน
สักวันหนึ่งข้างหน้าจึงจะได้ใช้ความรู้ในการประกอบอาชีพการงาน หากไม่เรียนก็ต้องใช้แรงงาน
ประกอบอาชีพ ซึ่งก็จะได้ค่าตอบแทนการทํางานน้อยกว่า เหนื่อยมากกว่า และมีโอกาสชีวิตน้อยกว่า
ลําบากมากกว่าเป็นเรื่องธรรมดา และนี่คือ ธรรมชาติ และเป็นหลักคําสอนของพระพุทธองค์ที่เรียกว่า
ธรรมะ ฉะนั้น
12.2 การประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในกรอบของสังคมไทย ตามวัย ในสังคมไทยสอนให้ลูกหลาน
พึงปฏิบัติหน้าที่ มีความกตัญํู เช่น การยึดถือหลักธรรมทั้ง 6 ประการ สําหรับนําทางการดําเนินชีวิต อีก
ทั้งจะช่วยเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นในสังคม และจะนํามาซึ่งความสุข ความ
สันติ ความมั่นคง และความเจริญก้าวหน้าทั้งหลายทั้งปวง ประกอบด้วย
12.2.1. เมตตามโนกรรม คือ การคิดดี รักและเมตตาต่อกัน มองกันในแง่ดี มีความหวังดีต่อกัน
และปรารถนาดีต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้
อภัยต่อกันและกัน
12.2.2. เมตตาวจีกรรม คือ การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดให้กําลังใจกัน พูดกันด้วยความรักความ
ปรารถนาดี ไม่พูดจาซํ้าเติมกัน ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง พูดแนะนําในสิ่งที่ดีและมี
ประโยชน์ ทําในสิ่งที่พูด ไม่โกหกมดเท็จ
12.2.3. เมตตากายกรรม คือ การทําความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกัน มีความอ่อนน้อม
ถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทําร้ายกัน
12.2.4. สาธารณโภคี คือ การช่วยเหลือกัน แบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ไม่เห็น
แก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบ และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกัน
12.2.5. สีลสามัญญตา คือ การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่าง ๆ ของสังคม เคารพ
ในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอํานาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใด ๆทั้งปวง
12.2.6. ทิฐิสามัญญตา คือ มีความคิดเห็นถูกต้องตามระเบียบสังคม ไม่ยึดถือความคิดของ
ตนเองเป็นใหญ่ ยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสวงหาจุดร่วมและ
สงวนไว้ซึ่งจุดต่างของกันและกัน