Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         28



                               8.5 เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเขย่า ได้แก่ อังกะลุง


                          เครื่องดนตรีของไทยที่กล่าวมาบางชนิดมีการเล่นอยู่ในบางประเทศในแถบอาเซียน (ASEAN)

                   บางประเภทมีเล่นเฉพาะในประเทศไทย นอกจากนี้ยังพบว่ามีเครื่องดนตรีหลายชนิดที่มีเล่นเฉพาะใน
                   ท้องถิ่น หรือ ในแต่ละภาคเท่านั้น



                          9.  วัฒนธรรมทางงานศิลปะไทย (Thai Culture of Fine Art and Applied Art) งาน

                   ศิลปะเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่แสดงออกมาจากลักษณะนิสัยของคนในชาติ จากความช่างคิด อารมณ์ที่
                   อ่อนหวาน ละมุนละไม รักสวยรักงาม แล้วประดิษฐ์เป็นผลงานที่แสดงให้เห็นลีลาแห่งอารมณ์  ลายเส้น

                   สายแสดงถึงความศิวิไลซ์ ความสุนทรี  ความประณีตอ่อนหวาน เป็นผลงานที่มีความงามอย่างวิจิตร

                   อลังการให้คนได้เห็น รับรู้และจดจํา  งานศิลปะไทยมีหลากหลายประเภท เช่น  งานจิตรกรรมไทย ได้แก่
                   ภาพเขียนแบบอย่างของไทย  ลายไทย เป็นส่วนประกอบของภาพเขียนไทยใช้ตกแต่งอาคาร ใช้เป็น

                   ส่วนประกอบของงานศิลปะที่ปรากฏในสิ่งของ เครื่องใช้  เครื่องประดับ เช่น ลายกนก  ลายกระจัง

                   ลายประจํายาม  ลายเครือเถา  งานประติมากรรมไทย เป็นผลงานศิลปะที่แสดงออกโดยการปั้น การ

                   แกะสลัก การหล่อ ซึ่งมีแบบอย่างเป็นของไทยโดยเฉพาะ วัสดุที่ใช้ในการสร้างมักจะเป็น ดิน ปูน หิน อิฐ
                   โลหะ ไม้ งาช้าง เขาสัตว์กระดูก เป็นต้น งานประติมากรรมของไทยมีวิวัฒนาการและความเป็นมาช้านาน

                   ที่แสดงให้เห็นฐานคติ ความเชื่อ และศรัทธาของชาวไทยในยุคต่าง ๆ ที่แสดงออกเป็นรูปธรรมจาก

                   เทวรูปสมัยศรีวิชัย และ เทวรูปสมัยลพบุรี งานประติมากรรมไทยที่แสดงออกในการปั้นพระพุทธรูปสมัย

                   เชียงแสน  อู่ทอง  สุโขทัย  อยุธยา และรัตนโกสินทร์ และยังแสดงออกให้เห็นฝีมือเชิงช่าง วิถีชีวิตอารมณ์
                   และความสุข ความทุกข์ของคนในแต่ละยุคที่สะท้อนคุณค่าทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย งานศิลปะไทย

                   จึงเป็นมรดกชาติที่มีส่วนสําคัญในการส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ควรค่าแก่การ

                   มาเยือน มาเรียนรู้ และมาสัมผัสถึงความปรีชาสามารถ ความสุนทรีและความศิวิไลซ์ของมนุษยชาติ งาน
                   ศิลปะอาจแบ่งออกเป็น (คณะกรรมการเฉพาะกิจจัดทําหนังสือเมืองไทยของเรา, 2535 และ

                   http://student.buu.ac.th/~47041144/thai.html) ดังนี้


                                       9.1  ศิลปบริสุทธิ์  (Pure art)  เป็นผลงานศิลปะที่เกิดจากการใช้ความรู้สึก ใช้อารมณ์ ความ

                   ประทับใจ ประกอบเป็นชิ้นงานทางศิลปะขึ้นมา ที่ไม่กระทําไปเพื่อประโยชน์ในเชิงการค้า การ
                   อุตสาหกรรมหรือการโฆษณาชวนเชื่อต่าง ๆ หรือ เรียกว่า “การทํางานศิลปะเพื่อศิลปะโดยแท้จริง” เช่น

                   ภาพจิตรกรรมไทย ซึ่งอยู่บนฝาผนังพระอุโบสถตามวัดวาอารามต่าง ๆ  ศิลปบริสุทธิ์  นั้นจําเป็นต้องอาศัย

                   องค์ประกอบที่สําคัญ คือ 1) เนื้อหา (content) ของงานศิลปะต้องมีสาระหรือจุดหมายในการประกอบงาน

                   ศิลปะ  2) ผู้รังสรรค์งานมีความชํานาญ (skill) และประสบการณ์ (experience) ต้องผ่านการฝึกฝนอย่าง

                   หนักเพื่อให้เกิดทักษะและสร้างงานศิลปะได้อย่างสมบูรณ์  และ 3) โครงร่างองค์ประกอบงานศิลปะ
                   (form) ของชิ้นงานสามารถใช้ศาสตร์และหลักคิดทางองค์ความรู้ของงานศิลปะ อธิบาย  ขยาย หรือ แสดง
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53