Page 44 -
P. 44

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         24



                   หรือในโอกาสพบปะสังสรรค์ระหว่างผู้นํา พิธีแต่งงาน เทศกาลและงานประเพณีที่จัดขึ้น หรือในกิจกรรม

                   ต่าง ๆ ที่ต้องการ แสดงให้เห็นถึงความเป็นไทยอย่างชัดเจน


                          6.3  เครื่องแต่งกายของไทย เป็นมรดกทางวัฒนธรรมประจําชาติที่มีการออกแบบและการตัดเย็บ

                   เป็นลักษณะเฉพาะ  แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ไทยได้อย่างกลมกลืนเหมาะสมกับรูปร่างและกิริยา

                   อย่างไทย การแต่งกายของไทย มีประประวัติและพัฒนาการมาเกือบ 1,400 ปี ตั้งแต่ ยุค "มาลานําไทย"
                   แต่ละยุคแต่ละสมัยล้วนมีรูปแบบการแต่งกายที่เป็นของตนเอง ตั้งแต่สมัยน่านเจ้า (พ.ศ. 1161 - 1194)

                   หญิงผู้ดีนุ่งซิ่นไหม  สมัยเชียงแสน (พ.ศ. 1661 - 1731)  หญิงไทยนุ่งซิ่นถุง และมีการทอผ้ามีลวดลาย

                   ตกแต่งต่างออกไป  สมัยสุโขทัย (พ.ศ. 1781 - 1826) หญิงนุ่งผ้าสูงพ้นดิน ๒ - ๓ นิ้ว (กรอมเท้า) และห่ม

                   ผ้าสไบ สมัยอยุธยา (พ.ศ. 1893 - 2310) เป็นยุคที่มีการปกครองนานถึง 413 ปี  การแต่งกายสมัยอยุธยา

                   มีการปรับเปลี่ยนจากนุ่งผ้าซิ่น ห่มสไบ ต่อมาปรับเปลี่ยนเป็นโจงกระเบน และใส่ผ้ารัดอกแบบตะเบงมาน
                   บางช่วงเวลามีการแต่งกายด้วยการนุ่งโจงกระเบนใส่ผ้าแถบรัดอก  และต่อมามีการสวมใส่เสื้อคอกลม

                   แขนกรอมศอก สตรีนุ่งโจงกระเบนสวมเสื้อแขนกระบอก และห่มสไบเฉียง ต่อมาสมัยรัตนโกสินทร์

                   เครื่องแต่งกายทั้งหญิงชายนิยมนุ่งโจงกระเบน  ฝ่ายหญิงพาดสไบ ส่วนฝ่ายชายพาดผ้าปิดไหล่ห้อยชายผ้า
                   ไว้ด้านหลัง จนกระทั้งถึงสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา จึงเริ่มประยุกต์การแต่งกายทั้งหญิงชายให้เข้ากับ

                   สากลตะวันตก เช่น รัชกาลที่ 6 หญิงนุ่งโจงกระเบนแต่สวมเสื้อลูกไม้แขนยาวปล่อยชายเสื้อคาดเข็มขัด

                   ทับตามแบบการแต่งกายของชาวตะวันตก (นฤมล ปราชญ์โยธิน, 2525: 7, สมภพ จันทรประภา, 2526: 28
                   และ อภิโชค  แซ่โค้ว, 2542: 22) ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการแต่งกายของคนไทยมีพัฒนาการเปลี่ยนไปตามยุค

                   สมัยที่มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศ เช่น ชาวอินเดีย  จีน และชาวตะวันตก จนปัจจุบัน "ยุค

                   แห่งเทคโนโลยีข่าวสาร" การแต่งกายจึงร่วมสมัยมากขึ้น


                            พัฒนาการเครื่องแต่งกาย สมัยรัตนโกสินทร์ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ

                   ทรงเป็นผู้นําแบบอย่างการแต่งกายอย่างไทย ทรงพระราชดําริชุดไทยพระราชนิยมสําหรับสตรีไทยที่ใช้

                   ในโอกาสต่าง ๆ ขึ้นหลายชุด และทรงเป็นผู้นําในการใช้ผ้าไทยมาตัดเย็บเป็นเครื่องแต่งกายตามสมัยนิยม
                   ซึ่งเมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถเสด็จประพาสประเทศ

                   สหรัฐอเมริกาและประเทศในสหภาพยุโรปเมื่อป ี พ.ศ. 2503  พระองค์ท่านเห็นว่าชุดแต่งกายไทยยังไม่มี

                   แบบฉบับตามตัวอย่างของประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย เช่น ส่าหรีของ
                   อินเดีย กิโมโนของญี่ปุ่น หรือเครื่องแต่งกายของจีน จึงโปรดให้มีการค้นคว้าเรื่องเครื่องแต่งกายในสมัย

                   ต่าง ๆ ขึ้น และดัดแปลงเป็นชุดไทยพระราชนิยมหลายชุด คือ ชุดไทยจักรพรรดิ์  ชุดไทยจักรี ชุดไทยเรือน

                   ต้น ชุดไทยอมรินทร์ ชุดไทยดุสิต ชุดไทยศิวาลัย ชุดไทยบรมพิมาน และชุดไทยจิตรลดา โดยตัดเย็บจาก
                   ผ้าภูมิปัญญาไทย ทําให้ชุดไทยประจําชาติได้รับความนิยมในหมู่สตรีไทยและสังคมทั่วไป ทั้งยังได้

                   เผยแพร่ชื่อเสียงความงดงามด้วยศิลปะทั้งปวงไปยังนานาประเทศ (วิทย์ บัณฑิตกุล, 2553) นอกจากนี้
   39   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49