Page 41 -
P. 41

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

                                                                                                         21



                                        4.3.4  อาหารท้องถิ่นภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง  จังหวัดจันทบุรี และจังหวังตราด

                   อาหารท้องถิ่นภาคตะวันออกมีตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สําคัญกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร คือ การปลูกเร่ว เป็น
                   พืชสมุนไพรชนิดหนึ่งที่ใช้ลําต้นใต้ดินคล้ายข่า มีขนาดเล็กกว่า แต่มีรสชาติไม่เหมือนกัน คือ เร่วจะมีกลิ่น

                   หอมไม่เหมือนข่า มีรสเผ็ดร้อนไม่มาก แต่มีรสหวาน เหมาะสําหรับนํามาต้มนํ้าซุบ อาหารที่สําคัญ คือ ซุป

                   ก๋วยเตี๋ยวเนื้อเลียง ผักอีกชนิดหนึ่ง คือ ชะมวง นํามาต้มหมูชะมวงอร่อยนัก เป็นผักที่มีรสเปรี้ยวในตัวเอง

                   อาหารประเภทเส้นได้แก่ก๋วยเตี๋ยวผัดจันทน์ เป็นก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กที่เหนียวนุ่มผัดกับนํ้าพริกแกงทําให้
                   ก๋วยเตี๋ยวมีสีแดงและมีรสเผ็ด มีลักษณะเด่น คือ ใส่ปูม้า ด้วยภาคตะวันออกติดกับทะเล จึงมีอาหารทะเลที่

                   อุดมสมบูรณ์มาก


                                         4.3.5  อาหารท้องถิ่นภาคใต้ มีตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ที่สําคัญกับพืชพันธุ์ธัญญาหาร คือ ขมิ้น

                   ผัดกูด ผักเหลียง สะตอ ลูกเนียง ลูกเหรียง ข้าวสังข์หยดจังหวัดพัทลุง ลักษณะชาติพันธุ์และฐานคิดของ

                   คนพื้นถิ่นภาคใต้  คนภาคใต้มักกินอาหารรสเผ็ดจัดแต่ก็รู้จักใส่ขมิ้นในอาหารเพื่อช่วยลดอาการปวดแสบ
                   ท้อง ซึ่งเป็นสรรพคุณทางยาที่แก้กันนับเป็นภูมิปัญญาที่ดี  เครื่องปรุงรสอาหารของคนท้องถิ่นภาคใต้ที่มี

                   ลักษณะเฉพาะ คือ นํ้าบูดู และไตปลา ที่กินเฉพาะในภาคใต้ ส่วนกะปิมีผลิตและกินในภาคกลางอย่าง

                   แพร่หลายเช่นกัน เช่น นํ้ายาขนมจีนภาคใต้จะเผ็ดมากกว่านํ้ายาขนมจีนภาคกลาง และมีขมิ้นเป็นส่วนผสม
                   รวมอยู่ด้วย  อาหารไทยในแต่ละภาคจึงสะท้อนวิถีและภูมิปัญญาไทยที่แตกต่างกัน รวมถึงมีตัวบ่งชี้ทาง

                   ภูมิศาสตร์ที่แสดงออกถึงความเป็นตัวตนอย่างเด่นชัดเฉพาะที่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ (Empirical evident)


                          4.4 อาหารตามฤดูกาล  ประเทศไทยเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ใกล้กับเส้นศูนย์สูตรมีอากาศร้อนชื้น
                   และตั้งอยู่ในเขตลมมรสุมที่ทําให้มีฝนตกชุกตลอดทั้งปี เหมาะกับการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ธัญญาหาร

                   คนไทยจึงมีต้นทุนที่ดีทางด้านวัตถุดิบในการประกอบอาหารเป็นต้นทุนที่ดี  คนไทยมีวัฒนธรรมการกิน

                   “อาหารตามฤดูกาล”  เช่น ในฤดูร้อนคนไทยจะนิยมรับประทานข้าวแช่ คือ ข้าวล้างขัดเสิร์ฟกับนํ้าลอย

                   ดอกไม้ เช่น ดอกมะลิ ดอกชมนาด หรือ อบควันเทียนให้มีกลิ่นหอมเพื่อให้รู้สึกคลายความร้อน
                   รับประทานกับเครื่องแนม ได้แก่ เนื้อผัดหวาน กะปิทอด หัวผักกาดหวานผัด ปลายี่สกผัดหวาน พริก

                   หยวกยัดไส้ หอมแดงสอดไส้ แนมกับผักสด ได้แก่ แตงกวา กระชายอ่อน มะม่วง พริกชี้ฟ้า ต้นหอม

                   เป็นต้น
                                      ตัวบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical Indications หรือ GI) เป็นทรัพย์สินทางปัญญา

                         ประเภทหนึ่ง ที่เกิดขึ้นจากความเชื่อมโยงกับปัจจัยสําคัญ 2 ประการ คือ ธรรมชาติและมนุษย์

                         กล่าวคือ ชุมชนได้อาศัยลักษณะเฉพาะที่มีอยู่ในแหล่งภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติ เช่น สภาพดินฟ้า

                         อากาศ หรือวัตถุดิบเฉพาะในพื้นที่ มาใช้ประโยชน์ในการสร้างผลิตภัณฑ์ หรือ ผลิตสินค้าใน
                         ท้องถิ่นของตนขึ้นมา ทําให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณลักษณะพิเศษที่มาจากพื้นที่ดังกล่าว คุณลักษณะ

                         พิเศษนี้อาจหมายถึงคุณภาพ ชื่อเสียงหรือคุณลักษณะเฉพาะอื่น ๆ ที่มาจากแหล่งภูมิศาสตร์ นั้น ๆ


                         (กรมทรัพย์สินทางปัญญา,  http://www.ipthailand.go.th/ipthailand/index.php?option=com)
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46