Page 18 -
P. 18

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                 ประเมินได้ เป็นที่ยอมรับของผู้เกี่ยวข้อง เช่น ตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพขององค์กร ความสําเร็จขององค์กร เป็นตัว

                 บ่งชี้ภาพรวมประกอบกันหลายตัวจึงสามารถสรุปผลเป็นประสิทธิภาพหรือความสําเร็จได้


                  มีขั้นตอนการประเมินผลดังนี้

                        1)  การวางแผนประเมิน   ในการประเมินทุกครั้งต้องมีการวางแผนการประเมินก่อน   ซึ่งใน

                 กระบวนการวางแผนการประเมินจะประกอบด้วย

                               1.1) ต้องระบุให้ชัดเจน ให้ได้ว่าจะประเมินอะไร ประเมินคน งานหรือระบบ

                               1.2) จะประเมินไปเพื่ออะไร เพื่อเลื่อนระดับ เพื่อพัฒนาหรือเพื่อแต่งตั้งบุคคลใหม่

                               1.3) วิธีการประเมิน จะประเมินใคร เพื่ออะไร หาวิธีการประเมินว่าจะประเมินอย่างไร
                               1.4) ใช้ข้อมูลอะไร ลักษณะไหนถึงจะเป็นข้อมูลที่ทําให้ได้รับผลการประเมินที่ถูกต้อง

                               1.5) ใช้เครื่องมือใด เอามาจากไหน

                               1.6) แหล่งข้อมูลมาจากไหน ใครเป็นผู้ให้ข้อมูล

                               1.7) จะใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร มีวิธีวิเคราะห์ข้อมูลอย่างไร
                               1.8) จะสรุปและรายงานผลการประเมินอย่างไร


                        2) การสร้างเครื่องมือ การประเมินแต่ละครั้งต้องมีการหาหรือจัดทําเครื่องมือสําหรับประเมิน  ซึ่งจะ

                 แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์   ข้อมูลที่ต้องการ   แนวทางการเก็บข้อมูลและแหล่งข้อมูลซึ่งสามารถแบ่ง
                 ประเภทของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลได้ โดยใช้แบบทดสอบ แบบประเมินเจตคติ แบบประเมินพฤติกรรม

                 และแบบประเมินบุคลิกภาพ

                        การออกแบบประเมิน เกี่ยวข้องกับประเด็นการกําหนดกรอบประชากร กลุ่มตัวอย่างหรือกลุ่มผู้ให้

                 ข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการวางแผนประเมิน โดยมีหลักการ

                 ดังนี้

                            -  การกําหนดกรอบประชากร เพื่อนําไปใช้ในการพิจารณาวิธีการเลือกสุ่มตัวอย่าง กลุ่ม

                               ตัวอย่าง ระบุจํานวนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล พร้อมทั้งวิธีการสุ่มตัวอย่าง

                               ว่าสุ่มโดยวิธีใดจึงจะเหมาะสมกับลักษณะของประชากร และวัตถุประสงค์ของการประเมิน

                            -  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กําหนดเครื่องมือให้เหมาะสมกับกลุ่มตัวอย่าง


                            -  การวิเคราะห์ ข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลอาจระบุวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลตามประเภทของ
                               ข้อมูล


                            -  การรายงานและการแปลความหมายผลการวิเคราะห์ข้อมูล ระบุรูปแบบรายงานผลการ
                               วิเคราะห์ เช่น รายงานผลในรูปของตาราง แผนภูมิ บรรยาย ในกรณีใช้เกณฑ์แปล

                               ความหมายของผลการประเมิน ควรระบุเกณฑ์และให้เหตุผลในการใช้


                            -  การวางแผนการดําเนินการประเมิน อาจใช้ GANTT Chart ช่วยในการวางแผน


                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 12
   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22   23