Page 23 -
P. 23
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3. ด้านบริหารและจัดการ ประกอบด้วย
3.1) พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ โดย การนําระบบบริหาร ที่เป็นสากล มาใช้เพื่อให้
มี การลดต้นทุนการดําเนินงาน และเป็นที่ยอมรับของ เกษตรกรโดยทั่วไป
3.2) ปรับระบบรายได้ เพื่อให้องค์กรลดการพึ่งพา จากงบประมาณ เพิ่มศักยภาพของบุคลากร โดย
การฝึกอบรม ให้มีความรู้ความสามารถ และทัศนคติที่ดี เพื่อรองรับนวัติกรรมใหม่ๆรวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพ
การประชาสัมพันธ์ให้มาก ขึ้น
3.3) ติดตามประเมินผล จัดระบบการติดตามผลการปฏิบัติงาน และระบบประเมินผลการปฏิบัติงาน
ให้สามารถใช้ในการบริหาร และติดตามความสําเร็จของ ผลการปฏิบัติงานได้ทุกโครงการ
2.4.6 โครงสร้างการบริหารงานของ สกย.
การบริหารงานของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
ระดับนโยบาย มีหน้าที่กําหนดนโยบาย ดูแลกํากับ ติดตามผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่
กําหนดได้แก่ คณะกรรมการสงเคราะห์การทําสวนยาง (กสย.)
ระดับปฏิบัติ แบ่งได้ 2 ส่วน คือ ส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค
1) ส่วนกลาง มีหน้าที่ในการบริหารกํากับ ติดตาม ประเมินผล การปฏิบัติงานและงานด้านอํานวยการ
เพื่อให้ปฏิบัติงานในพื้นที่ เกิดประสิทธิภาพ สํานักงานกลาง ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครฯ ประกอบด้วยส่วน
งานระดับฝ่าย จํานวน 12 ส่วนงาน ดังนี้
- สํานักผู้ตรวจการสงเคราะห์สวนยาง
- สํานักผู้อํานวยการ
- สํานักตรวจสอบภายใน
- ศูนย์สารสนเทศ
- ฝ่ ายวิจัยและแผน
- ฝ่ ายส่งเสริมการสงเคราะห์ มีหน้าที่และความรับผิดชอบ
(1) ศึกษา วิเคราะห์และรวบรวมข้อมูลการให้การสงเคราะห์และผลการให้การสงเคราะห์
(2) ประสานงานในการกําหนดเป้าหมายการให้การสงเคราะห์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของสํานักงาน
(3) ศึกษา วิเคราะห์ พัฒนาระบบการให้การสงเคราะห์ กําหนดระเบียบ วิธีปฏิบัติ ในการให้การ
สงเคราะห์ ให้คําปรึกษาเกี่ยวกับการให้การสงเคราะห์ เสนอแนะแนวทางเพื่อยกระดับมาตรฐานสวน
สงเคราะห์
(4) กํากับ ตรวจสอบและติดตามการดําเนินการให้การสงเคราะห์
(5) เป็นศูนย์ประสานเกี่ยวกับการให้การช่วยเหลือสวนที่ประสบภัยธรรมชาติ
(6) ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อกําหนดแผนการจัดเตรียมวัสดุสงเคราะห์และวัสดุปลูกให้เพียงพอ
กับความต้องการ
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 17