Page 21 -
P. 21

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                 2.4 สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.)


                        2.4.1 ภารกิจหลัก

                        สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง ( สกย.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทส่งเสริมที่ไม่แสวงหา

                 กําไร สังกัด กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง พ.ศ.
                 2503 ต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขในปี 2505, 2518 และ 2530 รวม 3 ครั้ง มีวัตถุประสงค์ เพื่อดําเนินกิจการ

                 ให้การสงเคราะห์การทําสวนยาง และการสงเคราะห์ปลูกแทนด้วยไม้ยืนต้นชนิดอื่นที่มีความสําคัญทาง

                 เศรษฐกิจ

                        2.4.2 ภารกิจพิเศษ

                        สกย.ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลนอกเหนือจาก พระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง

                 แล้ว รัฐบาลยังมอบนโยบาย ให้ สกย. ช่วยเหลือ เกษตรกรชาวสวนยาง ให้รวมตัว จัดตั้งสหกรณ์กองทุนสวน
                 ยาง โดยจัดสรร งบประมาณ สร้างโรงผลิตยางแผ่นผึ่งแห้ง / รมควัน ให้กับกลุ่มเกษตรกร เพื่อแปรรูปผลผลิต

                 เป็นยางแผ่นรมควัน หรือ อบแห้ง สําหรับกลุ่มเกษตรกรที่รวมตัวกัน ไม่มากพอ ที่จะจัดตั้งสหกรณ์ รัฐก็ให้

                 สกย. จัดสร้างโรงเรือน ผลิตยางแผ่นดิบคุณภาพดีให้ นอกจากนั้นรัฐยังมอบหมาย ให้ สกย. จัดตลาดประมูล
                 ยางระดับท้องถิ่น เพื่อให้เกษตรกร และพ่อค้ามาซื้อขายผลผลิต ที่ได้คุณภาพมาตรฐาน และราคาที่เป็นธรรม


                        2.4.3 วัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง

                        1) ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจทดแทนยางเก่า

                 และส่งเสริมให้เกษตรกร ที่ไม่มียางมาก่อน ได้ปลูกสร้างสวนยางพันธุ์ดี โดยให้ทุนสงเคราะห์รวมทั้ง

                 คําแนะนําทางวิชาการ เพื่อให้มีผลผลิตและรายเพิ่มขึ้น

                        2) พัฒนาคุณภาพผลผลิตให้เป็นที่ยอมรับของตลาด โดยใช้เทคโนโลยีเหมาะสม


                        3) พัฒนาระบบ และกลไกตลาด ให้เกษตรกรชาวสวนยาง ได้รับ ความเป็นธรรม ในด้านราคา

                        4) จัดตั้ง และพัฒนาองค์กรเกษตรกรชาวสวนยาง ให้เข้มแข็ง มีศักยภาพ ในการพัฒนา และอํานาจ

                 ต่อรองที่สูงขึ้น

                        2.4.4 แหล่งรายได้


                        เงินทุน ที่นํามาใช้ ในการดําเนินงานของ สกย. ตาม พระราชบัญญัติ กองทุนสงเคราะห์การทําสวน
                 ยาง ได้มาจาก 2 แหล่ง ได้แก่


                        1) เงินสงเคราะห์ ( CESS) เก็บจากผู้ส่งออกยาง นอกราชอาณาจักร ในอัตรา ที่รัฐมนตรีว่าการ

                 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กําหนดโดยการอนุมัติของคณะรัฐมนตรี ปัจจุบัน จัดเก็บในอัตราราคายางพารา
                 ไม่เกินกิโลกรัมละ 30 บาท จัดเก็บกิโลกรัมละ 90 สตางค์ ราคายางพาราเกินกิโลกรัมละ 30 บาท แต่ไม่เกิน 35

                 บาท จัดเก็บในอัตรากิโลกรัมละ 1.20 บาท ราคายางพาราเกิน 35 บาท จัดเก็บกิโลกรัมละ 1.40 บาท เงิน

                 สงเคราะห์ที่เก็บได้แต่ละปี ไม่เกินร้อยละ  5  ให้สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร นําไปค้นคว้าวิจัยงาน


                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 15
   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26