Page 16 -
P. 16

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                   3) การประเมินผลสรุปของโครงการ เป็นการประเมินเพื่อเป็นข้อสรุปว่า โครงการที่

                 ดําเนินการควรดําเนินการต่อไปหรือยุติลง


                        การประเมินผลโดยใช้แบบจําลองแบบซิปป ์  หรือ CIPP  Model  ของสตัฟเฟิลบีม ( Danial  L.

                 Stufflebeam)  เป็นการประเมินที่เป็นกระบวนการต่อเนื่อง ใช้ควบคู่กับการบริหารโครงการ เพื่อหาข้อมูล
                 ประกอบการตัดสินใจ วัตถุประสงค์การประเมิน คือการให้สารสนเทศเพื่อการตัดสินใจ   เน้นการแบ่งแยก

                 บทบาทของการทํางานระหว่าง ฝ่ายประเมินกับฝ่ายบริหารออกจากกันอย่างเด่นชัด กล่าวคือ  ฝ่ายประเมินมี

                 หน้าที่ระบุ จัดหา และนําเสนอสารสนเทศให้กับฝ่ายบริหาร ส่วนฝ่ายบริหารมีหน้าที่เรียกหาข้อมูล และนําผล
                 การประเมินที่ได้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพื่อดําเนินกิจกรรมใด ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้วแต่กรณี ทั้งนี้เพื่อ

                 ป้องกันการมีอคติในการประเมิน ได้แบ่งประเด็นการประเมินผลออกเป็น 4 ประเภท คือ

                        1.  การประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม ( Context  Evaluation:  C)   เป็นการประเมินให้ได้

                 ข้อมูลสําคัญ เพื่อช่วยในการกําหนดวัตถุประสงค์ของโครงการ ความเป็นไปได้ของโครงการ เป็นการ

                 ตรวจสอบว่าโครงการที่จะทําสนองปัญหาหรือความต้องการจําเป็นที่แท้จริงหรือไม่ วัตถุประสงค์ของ

                 โครงการชัดเจน เหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายขององค์การ หรือ นโยบายหน่วยเหนือหรือไม่ เป็น
                 โครงการที่มีความเป็นไปได้ในแง่ของโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่าง ๆ หรือไม่ เป็นต้น


                        การประเมินสภาวะแวดล้อมจะช่วยในการตัดสินเกี่ยวกับเรื่อง โครงการควรจะทําในสภาพแวดล้อม

                 ใด ต้องการจะบรรลุเป้าหมายอะไร หรือต้องการบรรลุวัตถุประสงค์เฉพาะอะไร  เป็นต้น

                        2.  การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้ อน (Input Evaluation: I) เป็นการประเมินเพื่อพิจารณา

                 ถึง ความเป็นไปได้ของโครงการ ความเหมาะสม และความพอเพียงของทรัพยากรที่จะใช้ในการดําเนิน
                 โครงการ เช่น งบประมาณ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ เวลา รวมทั้งเทคโนโลยีและแผนการดําเนินงาน เป็นต้น


                        การประเมินผลแบบนี้จะทําโดยใช้ เอกสารหรืองานวิจัยที่มีผู้ทําไว้แล้ว หรือใช้วิธีการวิจัยนําร่องเชิง

                 ทดลอง (Pilot Experimental Project) ตลอดจนอาจให้ผู้เชี่ยวชาญ มาทํางานให้ อย่างไรก็ตาม การประเมินผล
                 นี้จะต้องสํารวจสิ่งที่มีอยู่เดิมก่อนว่ามีอะไรบ้าง และตัดสินใจว่าจะใช้วิธีการใด ใช้แผนการดําเนินงานแบบ

                 ไหน และต้องใช้ทรัพยากรจากภายนอก หรือไม่

                        3.    การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation  :  P  ) เป็นการประเมินระหว่างการดําเนินงาน

                 โครงการ เพื่อหาข้อบกพร่องของการดําเนินโครงการ ที่จะใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา แก้ไข ปรับปรุง ให้การ
                 ดําเนินการช่วงต่อไปมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นการตรวจสอบกิจกรรม เวลา ทรัพยากรที่ใช้ในโครงการ

                 ภาวะผู้นํา การมีส่วนร่วมของประชาชนในโครงการ โดยมีการบันทึกไว้เป็นหลักฐานทุกขั้นตอน การประเมิน

                 กระบวนการนี้ จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการค้นหาจุดเด่น หรือจุดแข็ง (    Strengths) และจุดด้อย
                 (Weakness) ของนโยบาย/แผนงาน/โครงการ มักจะไม่สามารถศึกษาได้ภายหลังจากสิ้นสุดโครงการแล้ว

                        การประเมินกระบวนการจะมีบทบาทสําคัญในเรื่องการให้ข้อมูลย้อนกลับเป็นระยะๆ เพื่อการ

                 ตรวจสอบการดําเนินงานของโครงการโดยทั่วไป การประเมินกระบวนการมีจุดมุ่งหมาย คือ



                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 10
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21