Page 17 -
P. 17

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                  3.1 เพื่อการหาข้อบกพร่องของโครงการ ในระหว่างที่มีการปฏิบัติการ หรือการดําเนินงานตามแผน

                 นั้น

                  3.2 เพื่อหาข้อมูลต่าง ๆ ที่จะนํามาใช้ในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดําเนินงาน ของโครงการ

                  3.3 เพื่อการเก็บข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการดําเนินงานของโครงการ

                        4.  การประเมินผลผลิต (Product  Evaluation :  P )  เป็นการประเมินเพื่อเปรียบเทียบผลผลิตที่เกิด

                 ขึ้นกับวัตถุประสงค์ของโครงการ หรือความต้องการ/ เป้าหมายที่กําหนดไว้ รวมทั้งการพิจารณาในประเด็น

                 ของการยุบ เลิก ขยาย หรือปรับเปลี่ยนโครงการและการประเมินผล เรื่องผลกระทบ ( Impact)  และผลลัพธ์
                 ( Outcomes  ) ของนโยบาย / แผนงาน / โครงการ โดยอาศัยข้อมูลจากการประเมินสภาวะแวดล้อม ปัจจัย

                 เบื้องต้นและกระบวนการร่วมด้วย    จะเห็นได้ว่า การประเมินแบบ  CIPP  เป็นการประเมินที่ครอบคลุม

                 องค์ประกอบของระบบทั้งหมด ซึ่งผู้ประเมินจะต้องกําหนดวัตถุประสงค์ของการประเมินที่ครอบคลุมทั้ง
                 4 ด้าน กําหนดประเด็นของตัวแปรหรือตัวชี้วัด กําหนดแหล่งข้อมูลผู้ให้ข้อมูล กําหนดเครื่องมือการประเมิน

                 วิธีการที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล กําหนดแนวทางการวิเคราะห์ข้อมูล และเกณฑ์การประเมินที่ชัดเจน


                 2.3 กระบวนการในการประเมินผลองค์กร


                        กระบวนการประเมินองค์กรมีขั้นตอนในการดําเนินงานเช่นเดียวกับการประเมินโดยทั่วๆ ไป ดังนี้

                        ทําความรู้จักกับองค์กรที่ต้องการประเมิน  การทําความรู้จักกับองค์กรที่ต้องการประเมินเป็นเรื่องที่

                 สําคัญต่อความเชื่อถือของผลการประเมิน ดังนั้นผู้ประเมินต้องทําการวิเคราะห์ปรัชญา นโยบาย จุดมุ่งหมาย

                 โครงสร้าง ระบบการบริหาร และวัฒนธรรมขององค์กร ตลอดจนประเภทขององค์กร เพื่อทําความรู้จักกับ
                 องค์กรในทุกๆ เรื่อง และทุกๆ ด้านเพื่อจะได้สาระของการประเมินที่ตอบสนองต่อการใช้งาน รวมทั้ง

                 ครอบคลุมและสอดคล้อง


                        ระบุประเด็นการประเมิน การสรุปประเด็นประเมินมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้ผลการประเมินที่มีคุณค่า
                 และมีประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้อง และผู้ที่ใช้ผลการประเมินควรต้องระบุผู้เกี่ยวข้ององค์กรให้ได้ครบถ้วนว่ามี

                 ใครบ้าง โดยพิจารณาจากองค์ประกอบดังนี้


                            -  เลือกประเด็นที่ตรงหรือตอบสนอง/สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการประเมินที่กําหนดไว้

                            -  เลือกประเด็นที่ผู้เกี่ยวข้องและต้องใช้ผลประโยชน์จากการประเมินต้องการทราบและใช้ผล

                               ประเมิน

                            -  เลือกประเด็นที่มีผู้ต้องการมากที่สุด


                        กําหนดจุดมุ่งหมายตัวบ่งชี้และเกณฑ์การประเมินองค์กร   ระบุหรือกําหนดจุดมุ่งหมายของการ
                 ประเมินตามวัตถุประสงค์หรือขอบเขตการประเมิน จากนั้นกําหนดตัวบ่งชี้ของความสําเร็จและเกณฑ์ที่ใช้ใน

                 การประเมิน การกําหนดตัวบ่งชี้ที่เป็นตัวแปรนามธรรม จะต้องให้นิยามหรือแปลงให้เป็นรูปธรรม และวัดได้





                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                      หน้า 11
   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21   22