Page 14 -
P. 14
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ดําเนินการแล้วนั้นประสบความสําเร็จตามที่คาดหวังไว้หรือไม่ ผลที่เกิดขึ้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ของ
โครงการแผนงานหรือไม่
2.2.2 จําแนกโดยเกณฑ์ จุดมุ่งหมายและลักษณะการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ (รัตนะ,
2540; ศิริชัย, 2536) แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1) การประเมินความก้าวหน้า (Formative Evaluation) เป็นการประเมินเพื่อมุ่ง
ตรวจสอบว่าโครงการหรือแผนงานเป็นไปตามแผนหรือไม่ มีปัญหาอุปสรรคอย่างไรบ้าง เพื่อนําผลที่ได้ไป
ช่วยตัดสินใจในการปรับปรุงงานหรือโครงการในช่วงระยะเวลาที่เหลือ ช่วยลดโอกาสการสูญเปล่าของการ
ดําเนินงานและเพิ่มโอกาสความสําเร็จของการพัฒนางานมากขึ้น
2) การประเมินเพื่อผลสรุปรวม (Summative Evaluation) เป็นการประเมินที่มุ่งเน้น
ตรวจสอบผลลัพธ์หรือผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการดําเนินงานว่าเกิดผลดีหรือสัมฤทธิ์ผลตามที่คาดหวังหรือไม่
เพื่อนําไปสู่การตัดสินใจยกเลิกหรือขยายผลโครงการในวงกว้างมากขึ้นในอนาคต
2.2.3 จําแนกตามชนิดของข้อมูลในการประเมิน (สุภศรี, 2546) ในการประเมินอาจจัดสิ่งที่
ประเมินโดยอาศัยข้อมูลที่เป็นจํานวนหรืออาจวัดสิ่งที่ประเมินในลักษณะนามธรรมโดยแบ่งตามชนิดของ
ข้อมูลเป็น 2 ประเภท คือ
1) การประเมินเชิงปริมาณ เป็นการประเมินที่วัดสิ่งที่มุ่งประเมินด้วยข้อมูลตัวเลข
เชิงปริมาณ โดยให้ความสําคัญในการเก็บรวบรวมข้อมูลตัวเลขและสถิติที่แจงนับได้
2) การประเมินเชิงคุณภาพ เป็นการประเมินที่วัดสิ่งที่มุ่งประเมินโดยอาศัยข้อมูลเชิง
คุณลักษณะที่เป็นนามธรรม เช่น ความคิดเห็นในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
2.2 แนวคิดการประเมินผล
สํานักงานมาตรฐานการศึกษา (2545) จากภาพที่ 2-1 พบว่า การประเมินจะเกี่ยวข้องกับการวัดและ
การตัดสินใจในสิ่งที่ต้องการประเมิน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
การประเมิน
สิ่งที่ต้องการประเมิน
การวัด การตัดสินใจ
- จุดประสงค์ - เครื่องมือ - ริเริ่ม
- ตัวชี้วัด - การเก็บข้อมูล -ปรับปรุงแก้ไข
- การวิเคราะห์ข้อมูล
- การสรุปผล
ภาพที่ 2-1 แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับการประเมินของสํานักงานมาตรฐานการศึกษา
1) สิ่งที่ต้องการประเมิน ในการประเมินสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้ประเมินจะต้องกําหนดสิ่งที่ต้องการ
ประเมิน ได้แก่ จุดประสงค์ของการประเมิน และตัวชี้วัดการประเมินให้ชัดเจน จุดประสงค์ของการประเมิน
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 8