Page 9 -
P. 9
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
3) ได้ทราบถึงผลจากการทํางานร่วมกัน ของสถาบันเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
เพื่อพัฒนาการทํางานร่วมกันอย่างบูรณาการ
4) ได้ข้อสรุปการประเมินผลการดําเนินงาน พร้อมข้อเสนอแนะแนวทางการปรับปรุงคุณภาพการ
ให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง
5) ได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันระหว่าง เกษตรกร สถาบันเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง
และเจ้าหน้าที่ของ สกย. ร่วมเสนอแนวคิดในการพัฒนาการทําสวนยางสู่ความยั่งยืนต่อไป
ผลประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ การประเมินผลจะก่อประโยชน์แก่สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทํา
สวนยาง (สกย.) ในการกําหนดแนวทางแก้ปัญหา ปรับปรุง พัฒนาการให้บริการแก่เกษตรกร สถาบัน
เกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ และผู้ที่เกี่ยวข้อง ทําให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
1.4 นิยามศัพท์
เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์ คือ เกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์การทําสวนยางพารา สวน
ดําเนินการ เป็นสวนที่ให้การสงเคราะห์ในปี พ.ศ. 2547 – 2552
เกษตรกรหลังรับการสงเคราะห์ คือ เกษตรกรที่ได้รับการสงเคราะห์การทําสวนยางพารา และพ้น
ระยะเวลาสงเคราะห์แล้ว และเป็นเกษตรกรที่ได้รับบริการจาก สกย. จากกลุ่ม/องค์กร และการใช้บริการด้าน
การตลาด เช่น ขายผลผลิตในตลาดยางท้องถิ่นของ สกย.
เกษตรกรรายย่อย คือ เกษตรกรที่ไม่ใช่สวนสงเคราะห์และสวนพ้นสงเคราะห์ แต่ได้รับบริการจาก
สกย. ข้อมูล กลุ่ม การตลาด จะเป็นเกษตรกรที่อยู่ในกลุ่ม/องค์กรก็ได้
พ่อค้า คือ ผู้ที่มารับซื้อผลผลิตจากกลุ่ม
นักวิชาการ คือ นักวิชาการจาก กรม/กองต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร/ กรมส่งเสริมการเกษตร/ กรม
พัฒนาที่ดิน/ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์/ กรมส่งเสริมสหกรณ์/ กรมปศุสัตว์/ กรมประมง/ กรมการพัฒนาชุมชุน
ฯลฯ
ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ คือ ผู้ค้ายาง/ ผู้ส่งออกยาง/ สมาคมยางพาราไทย/ สมาคมนํ้ายางข้นไทย/ บริษัทหรือ
โรงงานไม้ยางพารา/ กลุ่มสหกรณ์การเกษตร/ เกษตรกรผู้ปลูกยางพารา ฯลฯ
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 3