Page 8 -
P. 8
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
เกษตรกรชาวสวนยางเป็นสําคัญ ในปี 2552 ได้ประเมินผลความพึงพอใจของเกษตรกรชาวสวนยางที่มีต่อการ
รับบริการในกระบวนการสงเคราะห์การปลูกยาง ในพื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช
พัทลุง สงขลา ตรัง พังงา กระบี่ ระยอง และตราด แล้ว สําหรับปีนี้สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง
จึงได้ทําความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสํานักส่งเสริมและฝึกอบรม กําแพงแสน
ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของ สกย. ในพื้นที่ 8 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร ระนอง ภูเก็ต สตูล ปัตตานี ยะลา
นราธิวาส และจังหวัดจันทบุรี โดยศึกษากระบวนการทํางาน และการให้บริการด้านต่างๆ ความพึงพอใจของ
เกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์และหลังรับการสงเคราะห์จากกิจกรรมต่างๆ และการได้รับความรู้และ
การนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรหลังการรับการสงเคราะห์ และศึกษาความพึงพอใจในการทํางาน
ร่วมกัน ของสถาบันเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ รวม ถึงความต้องการ ปัญหา
ข้อเสนอแนะในการให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง และจัดทําข้อเสนอแนะแนว
ทางการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์ของการประเมินผล
1) เพื่อศึกษากระบวนการทํางาน และการให้บริการด้านต่างๆ ของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การ
ทําสวนยาง
2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเกษตรกรที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์และหลังรับการสงเคราะห์จาก
กิจกรรมต่างๆ และการได้รับความรู้และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทํางานร่วมกัน ของสถาบันเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ และ
ผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อการให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง
4) เพื่อศึกษาความต้องการ ปัญหา ข้อเสนอแนะในการให้บริการ รวมทั้งจัดทําข้อเสนอแนะแนว
ทางการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง
5) เพื่อให้เกษตรกร สถาบันเกษตรกร พ่อค้า นักวิชาการ ผู้เกี่ยวข้อง และเจ้าหน้าที่ของ สกย. ได้
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ สู่แนวคิดในการพัฒนาการทําสวนยางให้มีความยั่งยืนต่อไป
1.3 ผลที่ได้รับจากการประเมิน
1) ได้ทราบถึงกระบวนการทํางาน (ขั้นตอน ระยะเวลา ความถูกต้องในการให้บริการ) และคุณภาพ
ในการให้บริการด้านต่างๆ ของสํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง
2) ได้ทราบถึงความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจของเกษตรกรผู้รับบริการที่อยู่ระหว่างการสงเคราะห์
และหลังรับการสงเคราะห์จากกิจกรรมต่างๆ และการได้รับความรู้และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ของ
เกษตรกรจากกิจกรรมการถ่ายทอดความรู้ของ สกย.
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 2