Page 7 -
P. 7

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                                                          บทที่ 1


                                                           บทนํา




                 1.1 หลักการและเหตุผล

                  สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยาง (สกย.) เป็นรัฐวิสาหกิจประเภทเสริมสร้างเสถียรภาพกับ

                 สังคม ไม่แสวงหากําไร สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติกองทุนสงเคราะห์

                 การทําสวนยาง เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2503 และต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุน
                 สงเคราะห์การทําสวนยาง 3 ครั้ง พ.ศ. 2505 พ.ศ. 2518 และ พ.ศ. 2530 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร

                 ชาวสวนยางให้มีรายได้เพิ่มขึ้นโดยการปลูกแทนที่ยางเก่าที่ให้ผลผลิตน้อยด้วยยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นชนิด

                 อื่นที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจหรือปลูกแทนไม้ยืนต้นชนิดอื่นด้วยไม้ยืนต้นที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจ

                 และยังเปิดโอกาสให้เกษตรกรที่ไม่เคยมีสวนยางมาก่อนได้มีทางเลือกในการประกอบอาชีพการทําสวนยาง
                 ซึ่งเป็นอาชีพที่มั่นคงยิ่งขึ้น  นอกจากนี้ สกย. มีภารกิจที่ต้องดําเนินการตามนโยบายของรัฐบาล ได้แก่ การจัด

                 ตลาดประมูลยางระดับท้องถิ่น การสร้างโรงผลิตยางแผนผึ่งแห้ง/รมควัน เพื่อเป็นการพัฒนาคุณภาพผลผลิต

                 ยางให้ได้มาตรฐานเป็นการยกระดับรายได้ของเกษตรกรชาวสวนยางโดยใช้จ่ายจากเงินงบประมาณแผ่นดิน

                        สกย. มีแนวทางการดําเนินงานตามแผนวิสาหกิจฉบับที่ 5 (2550-2554) ดังนี้  1) สนับสนุนการเพิ่ม

                 ประสิทธิภาพการผลิต มุ่งให้การสงเคราะห์ปลูกยางพันธุ์ดีหรือไม้ยืนต้นที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจทดแทน

                 ยางเก่า 2) พัฒนาเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ให้มีคุณภาพ มีความรอบคอบรู้อย่างเท่าทัน
                 และพึ่งพาตนเองได้ โดยการฝึกอบรม สัมมนา ดูงานด้านการผลิต การแปรรูปและการตลาด ตลอดจน

                 สนับสนุนสร้างเครือข่ายระบบข้อมูลสารสนเทศ และพัฒนาเครือข่ายเชื่อมโยงสถาบันเกษตรกร  3) พัฒนา

                 ระบบตลาดยางพาราระดับท้องถิ่น  สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง มีการกระจายผลประโยชน์อย่าง

                 ทั่วถึง 4) สนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางมีส่วนร่วมในการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนเพื่อสิ่งแวดล้อม โดย
                 ให้มีการจัดการสวนยางอย่างยั่งยืน ด้วยการใช้ปุ๋ ย และสารเคมีป้องกันกําจัดวัชพืช/ศัตรูพืช ตามคําแนะนําของ

                 กรมวิชาการเกษตร มีแผนการป้องกันการชะล้างหน้าดิน ปลูกพืชคลุมดิน มีการทําแนวป้องกันไฟ ไม่รุกลํ้า

                 ทําลายพื้นที่ป่าไม้ที่มีคุณค่าสูงด้านการอนุรักษ์ และ  5) พัฒนาระบบการจัดการในองค์กร  ให้เกิดธรรมภิบาล

                 มุ่งสร้างกลไกและกฎระเบียบที่เอื้ออํานวยต่อการปฏิบัติงาน ควบคู่กับการเสริมสร้างความโปร่งใส สุจริต
                 ยุติธรรม รับผิดชอบต่อสังคม มีการกระจายอํานาจ และเน้นการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ซึ่งนําไปสู่ความ

                 เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ สังคม และการใช้ทรัพยากร


                  สํานักงานกองทุนสงเคราะห์การทําสวนยางได้ดําเนินงานเข้าสู่ปีที่ 50 และต้องการจัดทําแผน
                 ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยคํานึงถึงความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือ




                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                       หน้า 1
   2   3   4   5   6   7   8   9   10   11   12