Page 13 -
P. 13

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว





                  4      ) ทราบว่าผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายสําเร็จลุล่วงตามเป้าหมายหรือไม่ ปฏิบัติได้

                 ตามมาตรฐานที่กําหนดไว้หรือไม่เพียงใด


                  5      ) ทราบถึงคุณสมบัติ ความรู้ ความสามารถ ความคิดของผู้ใต้บังคับบัญชา สามารถบรรจุบุคคลให้
                 เหมาะสมกับตําแหน่ง


                        ผู้ใต้บังคับบัญชา

                  1      ) ช่วยให้ทราบว่าปฏิบัติงานได้ดีหรือไม่ สามารถแก้ไขปรับปรุงการปฏิบัติงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม

                 อย่างไร

                  2      ) ช่วยให้เกิดความมั่นใจว่างานที่ปฏิบัติ จะได้รับการประเมินผลหรือวัดผลอย่างยุติธรรม มี

                 หลักเกณฑ์เป็นมาตรฐานเดียวกันขององค์กร


                  3      ) ช่วยให้เกิดขวัญ กําลังใจ ที่ผู้บังคับบัญชาให้ความสนใจ และพร้อมจะช่วยเหลือสนับสนุนให้เขา
                 ได้ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้น



                        2.1.4 ประเภทของการประเมินผล

                        การจําแนกประเภทของการประเมินทําได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับเกณฑ์ที่จะใช้ในการจําแนก ดังนี้

                               2.2.1  จําแนกตามระยะเวลาที่ทําการประเมิน  (รัตนะ, 2540;  สุพักตร์, 2544;  สุภศรี, 2546)

                 แบ่งเป็น 3 ประเภท คือ


                                      1) การประเมินก่อนการดําเนินงาน (Pre-evaluation) จําแนกได้ 2 ลักษณะ คือ การ
                 ประเมินความต้องการ (need assessment) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาปัจจุบัน ความจําเป็นเร่งด่วนที่ต้องได้รับการ

                 แก้ไข เพื่อนําผลการประเมินมากําหนดนโยบาย แผนงาน /โครงการ การศึกษาความเป็นไปได้   (Feasibility

                 study)  เป็นการประเมินที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อการตัดสินใจเลือกโครงการ ตรวจสอบความเหมาะสม ความ

                 เป็นไปได้ของโครงการในการนําไปปฏิบัติเพื่อนําผลการศึกษามากําหนดนโยบาย แผนงานหรือโครงการ
                 ต่อไป


                                      2)  การประเมินระหว่างดําเนินการ   (Implementation  Evaluation  or  Process
                 Evaluation)  เป็นการประเมินการดําเนินงานเมื่อนําแผนหรือโครงการที่วางแผนไว้ไปปฏิบัติเพื่อตรวจสอบ

                 การดําเนินงานอย่างต่อเนื่องว่าการดําเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ มีปัญหาการทํางานหรือไม่อย่างไร และเป็น

                 การประเมินความก้าวหน้าของแผนงานหรือโครงการว่าการดําเนินการเป็นไปตามนโยบายหรือแผนงานที่วาง
                 ไว้หรือไม่อย่างไรเพื่อนําผลมาปรับปรุง แก้ไข ให้การดําเนินงานมีความเหมาะสมยิ่งขึ้น


                                      3) การประเมินหลังการดําเนินงาน  (Summative  Evaluation  or  Post  Evaluation)
                 เป็นการประเมินเมื่อเสร็จสิ้นโครงการหรือแผนงานไปแล้ว เพื่อตรวจสอบว่านโยบายโครงการหรือแผนงานที่







                 รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553                                       หน้า 7
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18