Page 15 -
P. 15
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บ่งบอกเป้าหมายและสิ่งที่ต้องการประเมิน ตัวชี้วัดในการประเมินจะระบุถึงเกณฑ์ในการตัดสินคุณค่าของสิ่ง
ที่ต้องการประเมินตามจุดประสงค์ที่กําหนด สิ่งที่ต้องการประเมินสามารถกําหนดได้หลากหลายตามรูปแบบ
ของการประเมิน ถ้าเป็นการประเมินตามรูปแบบซิป (CIPP) สิ่งที่ต้องการประเมินจะมีทั้งสภาวะแวดล้อม
(Context) ปัจจัยเบื้องต้น ( Input) กระบวนการ (Process) และผลผลิต (Product) หรือนักประเมินบางคนอาจ
ต้องการประเมินผลกระทบ ( Impact) ซึ่งจะกําหนดได้ทั้งผลกระทบทางเศรษฐกิจ ผลกระทบทางสังคม
ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม การกําหนดสิ่งที่ต้องการวัดที่ชัดเจนจะเป็นผลดีอย่างยิ่ง ในการเข้าสู่กระบวนการ
วัด ทั้งการสร้างเครื่องมือ การออกแบบในการเก็บรวบรวมข้อมูล
2) การวัด ( Measurement) หลังจากกําหนดสิ่งที่ต้องการวัดชัดเจนจากนั้นจึงเข้าสู่
กระบวนการวัด ซึ่งมีกระบวนการที่สําคัญคือ การสร้างเครื่องมือ และการออกแบบการเก็บข้อมูล เครื่องมือที่
จะสร้างต้องสอดคล้องและเหมาะสมกับสิ่งที่ต้องการวัดได้ตรงกับสิ่งที่ต้องการวัด ในการวัดข้อมูลเชิง
ปริมาณและเชิงคุณภาพย่อมใช้เครื่องมือและวิธีการที่แตกต่างกัน เครื่องมือวัดข้อมูลเชิงคุณภาพมักนิยมใช้
การสังเกต และการสัมภาษณ์ ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณสามารถใช้เครื่องมือที่หลากหลาย โดยทั่วไปสามารถแบ่ง
ได้ 2 วิธี คือ
- วิธีปรนัย (Objective) เป็นวิธีที่สามารถวัดสิ่งที่ต้องการวัดได้แน่นอนไม่ว่าใครกําหนดก็
ได้ผลเหมือนกัน เช่น การวัดพฤติกรรมภายนอกโดยวิธีปรนัย ได้แก่ การนับความถี่ของพฤติกรรม การวัด
เวลาที่ใช้ การวัดนํ้าหนัก การวัดระยะทาง การวัดรายได้ การวัดวุฒิการศึกษา เป็นต้น
- วิธีอัตนัย (Subjective) เป็นวิธีวัดที่ต้องอาศัยความรู้สึก เป็นเกณฑ์ในการวัด สิ่งที่ต้องการ
วัด เช่น วัดพฤติกรรมภายในต่าง ๆ ได้แก่ เจตคติ ความคิดเห็น ความมีนํ้าใจ ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
ข้อมูลที่ได้จากกระบวนการวัดจะเป็นข้อมูลในกระบวนการตัดสินใจต่อไป โดยก่อนเข้าสู่
กระบวนการตัดสินใจจะนําข้อมูลจากการวัดไปวิเคราะห์ ซึ่งจะมีความหมายมากขึ้นในการช่วยตัดสินใจ
3) การตัดสินใจ ( Judgment) เมื่อได้ผลจากการวัดและนํามาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาตัดสิน
คุณค่าของสิ่งที่ต้องการประเมิน โครงการเปรียบเทียบผลที่ได้กับเกณฑ์ หรือตัวชี้วัดตามจุดประสงค์ที่กําหนด
ไว้ ในการตัดสินใจจะต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องประเมิน การประเมินโครงการมักจะมีการประเมินเพื่อ
ตัดสินใจใน 3 ลักษณะ คือ
1) การประเมินเพื่อจะริเริ่มดําเนินโครงการ จะเป็นผลการประเมินสภาวะแวดล้อมว่า
โครงการนั้นมีความจําเป็นที่ต้องดําเนินการเพียงใด และผลการประเมินปัจจัยเบื้องต้นเป็นข้อมูลเพื่อพิจารณา
ว่า สิ่งจําเป็นที่จะต้องดําเนินการโครงการมีเพียงพอ จะทําให้โครงการดําเนินการไปสําเร็จลุล่วงหรือไม่ ถ้า
ปัจจัยที่นําเข้าจําเป็นยังมีไม่เพียงพออาจต้องชะลอโครงการไว้ก่อน
2) การประเมินกระบวนการดําเนินการ เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข
เพื่อให้โครงการสามารถดําเนินการตามเป้าหมายที่กําหนดไว้
รายงานการประเมินผลการดําเนินงานของ สกย. ปี 2553 หน้า 9