Page 7 -
P. 7
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(5)
สถาบันการศึกษา (4) ญาติพี่น้องและร้านเคมีการเกษตร (5) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ และ (6) ผู้นํา
ชุมชนและวารสารการเกษตร เป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมเอกชน กลุ่ม/เครือข่าย และวิทยุ
เกษตรกรมีความต้องการในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า
แหล่งความรู้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการมากแต่กลับได้รับน้อยกว่าความต้องการมาก ได้แก่
(1) นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (2) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (3) วารสารทางการเกษตร
(4) กลุ่ม/เครือข่าย และ (5) ผู้นําชุมชน จะเห็นได้ว่าการได้รับความรู้จากกลุ่มอยู่ในระดับตํ่ามาก
การนําความรู้ที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ พบว่า ระดับการใช้ประโยชน์ความรู้ที่ได้รับ
จากแหล่งต่างๆ เกือบทุกแหล่งอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น เพื่อนเกษตรกรแหล่งเดียวที่อยู่ในระดับมาก เป็น
การตอกยํ้าให้เห็นว่า ช่องทางการให้ความรู้ที่มีประสิทธิผล คือ เพื่อนเกษตกรด้วยกันเอง (Farmer-to-farmer
หรือ peer-to-peer)
เกษตรกลุ่ม Non-GAP ส่วนใหญ่ ต้องการความรู้จากแหล่งต่างๆ เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
(1) เพื่อนเกษตร (2) ร้านเคมีการเกษตร (3) โทรทัศน์ (4) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (5) นักวิชาการ/
อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (6) นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ (7) ญาติพี่น้อง เช่นเดียวกับ
เกษตรกรกลุ่ม GAP ที่วิทยุ นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมเอกชน และกลุ่ม/กิจกรรมกลุ่ม ที่เกษตรกรมีความ
ต้องการในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า
เมื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างความต้องการความรู้และการได้รับความรู้ จากแหล่งต่างๆ ดู
เหมือนจะไม่มีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดูจากสัดส่วนความต้องการความรู้จากนักวิชาการ/
อาจารย์ นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเอกสารเผยแพร่ซึ่งเกษตรกรมีความต้องการสูง แต่กลับ
ได้รับน้อยกว่าความต้องการมาก ความต้องการความรู้และการได้รับความรู้จากกลุ่ม/กิจกรรมกลุ่ม ก็อยู่ใน
สัดส่วนที่น้อยที่สุด
ความรู้ที่ได้รับจากบรรพบุรุษมีการนําไปใช้ประโยชน์ในระดับมาก ในขณะที่ความรู้จากแหล่งอื่น
นําไปใช้ประโยชน์ได้ในระดับปานกลางเท่านั้น
องค์ความรู้/เทคโนโลยีการผลิตพริกระบบปลอดภัย (GAP) ที่ต้องการ
เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับความต้องการองค์ความรู้ในเรื่องต่างๆ คล้ายคลึงกัน ยกเว้น องค์ความรู้
เรื่องการป้องกันกําจัดแมลงและการป้ องกันกําจัดโรคที่เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP มีความต้องการในระดับมาก
ที่สุด ในขณะที่เกษตรกรกลุ่ม GAP มีความต้องการในระดับมาก องค์ความรู้เทค/โนโลยีในเรื่องที่เกษตรกร
ต้องการในระดับมากที่สุดและในระดับมากควรได้มีการถ่ายทอดสู่เกษตรกรในรูปแบบซึ่งมีประสิทธิผล
เกษตรกรกลุ่ม GAP แม้ว่าจะผ่านการฝึกอบรม ยังคงมีความต้องการความรู้ในการปลูกพริกระบบ
ปลอดภัยอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะเรื่องที่มีความต้องการมากที่สุด คือ การเพิ่มผลิตและปรับปรุงคุณภาพ
พริก เรื่องที่ต้องการในระดับมากมีอยู่ 9 เรื่อง เรียงตามลําดับได้แก่ (1) การป้ องกันและกําจัดแมลง (2) การ