Page 3 -
P. 3

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว






                                                    บทสรุปสําหรับผู้บริหาร


                                            ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม

                                  (Safety Chili Production Systems in Nakhon Pathom Province)


                                              สิรีรัตน์  เชษฐสุมน และสาคร  ชินวงค์
                                           Sireerat Chetsumon and Sakhon Chinnawong


                  งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา 1) สภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิตและการจัดการของเกษตรกรผู้ผลิตพริกใน
                 จังหวัดนครปฐม 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตพริกภายใต้แผนโครงการการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ( Good

                 Agricultural  Practice,  GAP)  (เกษตรกร GAP) และเกษตรกรผู้ที่ไม่ได้ผลิตภายใต้ระบบ  GAP  (เกษตรกร

                 ผู้ผลิตพริกทั่วไป) 2) การได้รับความรู้/เทคโนโลยีและการนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม
                 และ 3) ปัญหาและความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก และตลาดภายในและต่างประเทศ

                 และหน่วยงานภาครัฐ


                 1. สภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิตพริกจังหวัดนครปฐม


                        จังหวัดนครปฐมในพื้นที่อําเภอกําแพงแสน อําเภอเมือง และอําเภอดอนตูม มีกลุ่มชุดดิน ระบบนํ้ามี

                 ความเหมาะสมในการปลูกพริก   เกษตรกรมีการปลูกพริกในระบบการผลิตพริกปลอดภัย (กลุ่ม  GAP)  และ
                 การปลูกพริกแบบทั่วไป (กลุ่ม  Non-GAP) ระดับการศึกษาและการเป็นสมาชิกกลุ่มทางการเกษตรน่าจะเป็น

                 ปัจจัยที่ทําให้เกษตรกรยอมรับเทคโนโลยีการผลิตพริกปลอดภัยในระบบ   GAP  เกษตรกรกลุ่ม  GAP  มี

                 ประสบการณ์ในการปลูกพริกนานกว่า (15 ปี และ 13 ปี) มีแรงงานเฉลี่ยใกล้เคียงกัน (2 คน) ซึ่งทําให้
                 เกษตรกรมีปัญหาด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยเฉลี่ยจะปลูกพริกประมาณ 2.50 ไร่ และเกษตรกรกว่า 1 ใน

                 3 เช่าพื้นที่ในการเพาะปลูก

                        ระบบการปลูกและการจัดการผลผลิต


                        การปลูกพริกของเกษตรกรที่พบในพื้นที่ศึกษามีอยู่ 2 ระบบ  คือ 1) ระบบการปลูกพริกหมุนเวียนกับ

                 การปลูกผักชนิดอื่น (Crop rotation) 2) ระบบการปลูกพริกร่วมกับผักชนิดอื่นในแปลงเดียวกัน ทั้งในระหว่าง
                 แถวพริก (Intercropping) และหมุนเวียนกับผักชนิดอื่นหลังตัดต้นพริกทิ้ง  (Crop rotation) ส่วนใหญ่จะปลูก

                 ในระยะเวลาใกล้กันในช่วงเดือนมกราคม และขายผลผลิตพริกให้ผู้รวมรวมผลผลิตในหมู่บ้านในเดือน

                 เมษายน-ตุลาคม เกษตรกรทั้งหมดขายผลผลิตพริกสด โดยไม่มีการแปรรูป โดยมีผู้รวบรวมผลผลิตมารับซื้อที่

                 แปลงปลูกของเกษตรกร

                        ผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้ของเกษตรกร

                 ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP สูงกว่ากลุ่ม GAP ประมาณร้อยละ 15.28 แต่ต้นทุนการผลิตต่อไร่

                 ของเกษตรกรกลุ่ม  GAP กลับตํ่ากว่ากลุ่ม Non-GAP ประมาณร้อยละ 15.60 โดยมีค่าปุ๋ ย สารเคมี ตํ่ากว่า กลุ่ม
   1   2   3   4   5   6   7   8