Page 10 -
P. 10
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(8)
ผู้บริโภคมองว่า ผลผลิตพริกสดส่วนใหญ่จะมีปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิต เช่น สารเคมีที่ใช้ใน
ป้องกันการกําจัดแมลง และในผลผลิตพริกที่แปรรูป เช่นในพริกป่นที่ร้านอาหารทั่วไป จะมีการปนเปื้อน
ของเชื้อราในพริก ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการแปรรูปพริกหรือการเก็บรักษา
ผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคพริกปลอดภัย เพราะเห็นว่าการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยจะ
ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง จึงมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการในการควบคุม ดูแล
และตรวจสอบคุณภาพพริกที่วางขายในตลาด หรือร้านค้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ตลาด
ตลาดทั้งภายในและต่างประเทศมีแนวโน้มต้องการสินค้าเกษตรปลอดภัยเพิ่มมากขึ้น แต่ปัญหาคือ
ปริมาณสินค้าเกษตรปลอดภัยยังมีไม่มากพอ เนื่องจากเกษตรกรที่สามารถผลิตในระบบปลอดภัยยังมีไม่มาก
นัก ตลาดศรีเมือง ราชบุรี มีการแยกโซนสินค้าผักปลอดภัย ตลาดไทมีศูนย์รวมผักและผลไม้เพื่อการส่งออก
(POSSEC) มีการแยกสินค้าผักคุณภาพ แต่ยังไม่มีการแยกโซนผักปลอดภัย ตลาดสี่มุมเมืองมีการแยกโซนผัก
เมืองหนาวคุณภาพแต่ยังไม่มีการแยกโซนผักปลอดภัย ทั้งตลาดไทยและตลาดสี่มุมเมืองต่างก็มีความพร้อมที่
จะจัดแยกโซนสินค้าเกษตรปลอดภัย โดยมองว่าจะเป็นการยกระดับมาตรฐานของตลาดขึ้มมาอีกระดับหนึ่ง
ในขณะที่ตลาดปฐมมงคลและตลาดทุ่งพระเมรุ นครปฐม ยังไม่มีการแยกโซนผักปลอดภัย นอกจากนี้ยังมี
ปัญหาขาดแคลนผลผลิตพริกในช่วงฤดูแล้ง ส่งผลให้ผลผลิตพริกมีราคาแพง
ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการ
ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการขาดแคลน ผลผลิตพริกพันธุ์ที่ต้องการและ ผลิตภายใต้ระบบ ปลอดภัยใน
พื้นที่ โดยมีความต้องการผลผลิตพริกพันธุ์ Super hot ที่ปลอดสารเคมี หรือผลิตตามระบบปลอดภัย แต่
เกษตรกรในพื้นที่ปลูกพริกพันธุ์จินดา และมีการใช้สารเคมี ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบ การต้องการผลผลิตพริกแดง
แต่เกษตรกรเก็บพริกเขียว มีปัญหาผลผลิตพริกขาดแคลนในช่วงฤดูแล้ง ไม่มีการวางแผนการผลิตให้มี
ผลผลิตพริกตลอดปี และความไม่ไว้วางใจกันระหว่างผู้ส่งออกกับเกษตรกร สําหรับกลุ่มเกษตรกรที่ผลิตพริก
ในระบบปลอดภัยไม่มีตลาด/แหล่งรองรับที่ชัดเจนพริกปลอดภัยที่ตกเกรดต้องขายราคาเดียวกับพริกทั่วไป
ในการส่งผลผลิตพริกปลอดภัยไปยังตลาดต่างๆ เช่น ตลาดยุโรป ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย อเมริกา มีความเข้มงวด
ในเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยมาก ใช้มาตรฐาน GlobalG.A.P. ซึ่งในการปฏิบัติของเกษตรกรยังไม่ได้ตาม
มาตรฐานที่กําหนด ทําให้บริษัทส่งออกต้องมีการสุ่มตรวจพื่อให้ได้ตามมาตรฐานที่กําหนด จึงมีค่าใช้จ่ายใน
ขั้นตอนห้องปฏิบัติการตรวจสารเคมีตกค้าง และห้องปฏิบัติการตรวจไม่เพียงพอทําให้ผลการตรวจล่าช้า และ
ปัจจุบันต้องแบกรับค่าใช้จ่ายในการตรวจสารเคมีซึ่งมีราคาแพง
ผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการแก้ปัญหาโดยไปนําผลผลิตพริกสดจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคเหนือและ
ตะวันออกเฉียงเหนือ นําเข้าพริกแห้งจากจีน ซื้อเก็บตุนไว้ในช่วงที่ผลผลิตมีมาก ซึ่งทําให้มีต้นทุนค่าขนส่ง
หรือต้นทุนในการเก็บรักษาสูง นอกจากนี้ ในการซื้อขายผลผลิตพริกสด ยังมีการทําสัญญาซื้อขายในราคา
ประกัน โดยผู้ส่งออก/ผู้ประกอบการจะส่งผลผลิตพริกไปตลาดมาเลเซียหรือสิงคโปร์ซึ่งมีความเข้มงวดน้อย