Page 15 -
P. 15

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         (13)



                 ยั่งยืนในการผลิตพริกของเกษตรกร จึงจําเป็นต้องลดรายจ่ายในส่วนค่าแรง โดยใช้ระบบกลุ่มในการวาง

                 แผนการผลิตร่วมกัน เพื่อให้มีผลผลิตส่งตลาดทุกช่วงเวลาตามความต้องการของตลาด และส่งผลต่อการ
                 จัดการด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยว ซึ่งจะต้องร่วมมือกันโดยใช้วิธีการเอาแรงกันในหมู่บ้านหรือในกลุ่มของ

                 เกษตรกร หรือทําสัญญากับกลุ่มแรงงานในพื้นที่เพื่อเป็นการกระจายรายได้ และเป็นการจ้างในราคาที่ตํ่าลง

                 เนื่องจากกลุ่มแรงงานไม่มีค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการเดินทาง

                        ยุทธศาสตร์การให้ความรู้


                        ในระยะเร่งด่วน  กรมวิชาการเกษตรควรให้ความรู้แก่เกษตรกรว่าสารเคมีตัวใดที่ประเทศไทยและ

                 ประเทศผู้นําเข้าอนุญาตให้ใช้ และใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัยกับตัวเกษตรเองและไม่ตกค้างในผลผลิต โดยใช้
                 สื่อ VCD ประกอบกับคู่มือ/เอกสารเผยแพร่ เนื้อหาควรจะรวมเรื่องการเพิ่มผลผลิตและปรับปรุงคุณภาพพริก

                 การป้องกันกําจัดโรค-แมลงที่ได้ผลซึ่งเป็นความต้องการของเกษตรอย่างมากด้วย

                  นอกจากนี้กรมวิชาการเกษตรร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสนควรถ่ายทอด

                 ความรู้และการปฏิบัติที่ถูกต้องในการผลิตพริกระบบปลอดภัยให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกร

                 ผู้นําโดยการฝึกอบรมในพื้นที่และจัดให้มีแปลงหรือศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ซึ่งอาจใช้แปลงของสมาชิกกลุ่ม
                 คนใดคนหนึ่งเป็นจุดเรียนรู้ร่วมกัน ต่อจากนั้น เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรและเกษตรกรผู้นําถ่ายทอดความรู้

                 ให้แก่เกษตรกรต่อโดยใช้ประโยชน์จากแปลงหรือศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่


                         ในระยะสั้น  กรมวิชาการเกษตรมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กําแพงแสน ควรเร่งวิจัยหาสารชีวภาพ
                 เพื่อใช้ทดแทนสารเคมีป้ องกันกําจัดโรค โดยเฉพาะโรคกุ้งแห้ง แมลง โดยเฉพาะ เพลี้ยไฟ  /ไรขาว เพื่อ

                 แก้ปัญหาหลักในการผลิตพริกของเกษตรกร และนําองค์ความรู้แก้ปัญหาในกลุ่มนําร่องเพื่อให้มีการยอมรับ

                 และแพร่กระจาย ส่งผลผลต่อคุณภาพของผลผลิตที่ได้มาตรฐานสู่การส่งออก

                        ในระยะยาว ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กําแพงแสน ควรร่วมกับ

                 ภาควิชาโรคพืช ภาควิชากีฏวิทยา ภาควิชาพืชสวน ควรมีโปรแกรมการปรับปรุงพันธุ์พริกที่ต้านทานโรค

                 โดยเฉพาะโรคกุ้งแห้ง และแมลงโดยเฉพาะเพลี้ยไฟและไรขาว และให้ขั้วพริกมีความแข็งแรงด้วย

                  นอกจากนี้เพื่อแก้ปัญหาผลผลิตล้นตลาด หน่วยงานดังกล่าวข้างต้น ควรร่วมกันศึกษาวันปลูกต่าง ๆ

                 (Planting  Date)  ที่มีผลต่อผลผลิตพริก และการระบาดของโรค-แมลงและวัชพืชเพื่อนํามาใช้ในการวาง

                 แผนการปลูกพริกของกลุ่มเกษตรกร   ให้ผลผลิตทยอยออกสู่ตลาดอย่างสมํ่าเสมอ อันจะเป็นการแก้ปัญหา
                 ระยะยาวเรื่องราคาผลผลิตตกตํ่าในช่วงที่พริกออกสู่ตลาดมาก และสนับสนุนยุทธศาสตร์การลงแขกหรือการ

                 เอาแรงกัน เพราะหากเกษตรกรยังคงปลูกพร้อมๆ กัน ผลผลิตก็จะออกมาพร้อมๆ กัน ทุกคนต่างก็ห่วงเก็บ

                 เกี่ยวผลผลิตของตนก่อน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20