Page 17 -
P. 17
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(15)
5. แนวทางการพัฒนากลุ่มผู้ผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐมสู่ความสําเร็จ
จากผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม คือกลุ่ม GAP และกลุ่ม Non-GAP มีความตั้งใจจริงใน
การผลิตพริก และมีความต้องการในการพัฒนาอาชีพของตนสู่ความยั่งยืน แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่ยังประสบ คือ
เกษตรกรยังมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตพริกปลอดภัย ระบบ GAP สู่การปฏิบัติได้ค่อนข้างน้อย จึงมีแนว
ทางการพัฒนาในการเพิ่มองค์ความรู้ โดยการจัดอบรม ศึกษาดูงานภายในพื้นที่ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผ่าน
กลุ่ม (ศูนย์เรียนรู้ GAP หมู่บ้าน) โดยมี GAP อาสา เป็นผู้ขับเคลื่อน นําการเปลี่ยนแปลงสู่เพื่อนเกษตรกร
ด้วยกัน ภายใต้การให้คําปรึกษาของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรที่รับผิดชอบในตําบล กระบวนการพัฒนา
โดยใช้ความร่วมมือ 3 ประสาน โดยเริ่มต้นที่ความต้องการของเกษตรกร ใช้กลุ่มและองค์กรในการขับเคลื่อน
ผ่านองค์การบริหารส่วนตําบล และหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง และอาศัยความร่วมมือของภาคเอกชน
ในการสนับสนุนการขับเคลื่อนด้านการตลาด ร่วมมือกันแก้ปัญหาต่างๆ ทั้งด้านการผลิต ต้นทุนการผลิต
พันธุ์ (Super hot ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด) การจัดการการผลิตโดยใช้ระบบการผลิตพริก
ปลอดภัย GAP การติดตาม การให้ข้อมูล เป็นที่ปรึกษาของเจ้าหน้าที่/นักวิชาการผ่านกลุ่ม ปัญหาด้านราคา
การสร้างความเข้มแข็งเชื่อมโยงภาคส่วนต่างๆโดยจังหวัด โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆ ประมาณ 15-20 ราย เช่น
กลุ่มบ้านยาง อําเภอเมือง จังหวัดนครปฐม (พริกเขียว) และกลุ่มหนองกระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน จังหวัด
นครปฐม (พริกแดง) (ข้อมูลจากเวทีประชาพิจารณ์, 24 มิถุนายน 2552)
แนวทางขับเคลื่อนการพัฒนาสู่ความสําเร็จ โดยการจัดทําแผนกลยุทธ์ในการผลิตพริกปลอดภัย
ร่วมกัน และโดยมีแผนพัฒนาด้านต่างๆ เช่น แผนพัฒนาศักยภาพการผลิต เน้นการพัฒนาเกษตรกรผู้ผลิตพริก
ปลอดภัย ให้มีความรู้ความเข้าใจระบบการผลิตพริกปลอดภัย จนสามารถปฏิบัติได้ในแปลงของตนเอง และ
พัฒนาแกนนํา GAP อาสา จนสามารถถ่ายทอดความรู้สู่เกษตรกรด้วยกันได้ แผนพัฒนาการผลิตตามระบบ
GAP พัฒนาผลผลิตตรงตามความต้องการของตลาด เชื่อมโยงสู่ตลาดโดยใช้แผนความร่วมมือทางด้าน
การตลาด และใช้กลุ่มในการขับเคลื่อนโดยแผนการจัดการกลุ่มและเครือข่ายที่ประสบผลสําเร็จ