Page 21 -
P. 21
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 1
บทนํา
1.1 หลักการและเหตุผล
ความต้องการอาหารที่หลากหลายและความห่วงใยสุขภาพของผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว
ส่งผลให้เกิดการเติบโตของตลาดผลผลิตนอกฤดู ผักและผลไม้จากต่างแดน และผลผลิตอินทรีย์ ประเทศ
กําลังพัฒนาซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าเกษตรทั้งหลายรวมทั้งประเทศไทย ต่างใช้โอกาสนี้ในการขยายการส่งออก
ผัก และผลไม้สด อย่างไรก็ตามการค้าผักและผลไม้สดมีข้อบังคับของภาครัฐและมาตรฐานของเอกชนของ
ประเทศผู้นําเข้า อันเป็นผลจากการบังคับใช้ความตกลงด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Agreement on the
Application of Sanitary and Phytosanitary Measures : SPS) ขององค์การค้าโลก (World Trade Organization
: WTO) ซึ่งมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชมีผลกระทบต่อการค้าผักและผลไม้ระหว่างประเทศอย่าง
มาก ซึ่งมาตรการดังกล่าวนอกจากจะใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคแล้วยังสามารถใช้เป็นมาตรการการกีดกันทาง
การค้าในส่วนอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี ( Non-tarrif Trade Barier, NBTs) อีกด้วย โดยเฉพาะข้อกําหนดที่เข้มงวด
ในเรื่องคุณภาพและควมปลอดภัยที่ประเทศผู้นําเข้ากําหนดค่าสูงสุดของสารเคมีป้ องกันกําจัดศัตรูพืชที่
อนุญาตให้มีตกค้างในผลผลิตได้ (Maximum Residue Level, MRLs) ซึ่งนับวันจะมีความเข้มงวดมากยิ่งขึ้น
เช่น ข้อบังคับใหม่ของสหภาพยุโรป EU’s Plant Protection Directive (91/414/EEC) และ Japan’s Food
Sanitation Law ฉบับปรับปรุงของญี่ปุ่น โดยลดค่า MRLs ในผักและผลไม้ลง ซึ่งหมายความว่าการส่งออกผัก
และผลไม้ไปยังสหภาพยุโรปและญี่ปุ่นทําได้ยากขึ้น (UNCTAD, 2007)
นับตั้งแต่ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิกองค์การค้าโลก เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2537 ทําให้ประเทศไทย
ต้องยอมรับกติกาการค้าสากลว่าด้วยความตกลงสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชที่กําหนดให้ประเทศต่างๆ ใช้
มาตรการด้านมาตรฐานและความปลอดภัยของอาหารควบคุมการส่งออกและนําเข้าสินค้าเกษตรและอาหาร
ทําให้ประเทศไทยจําเป็นต้องปรับโครงสร้างภาคการผลิตให้เกิดความเชื่อมโยงของทั้งระบบอย่างต่อเนื่อง
(สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ, 2552) ดังนั้นระบบการผลิตทางการเกษตรของประเทศ
ในศตวรรษที่ 21 จึงไม่ได้จํากัดอยู่เฉพาะแค่ไร่นาเกษตรกรอีกต่อไป หากแต่จะเป็นระบบที่เชื่อมโยงกับภาค
ส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นตลาด ผู้ประกอบการ/ผู้ส่งออก หน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานภาควิชาการ เพื่อ
ตอบสนองกับความต้องการของผู้บริโภคซึ่งมีความตระหนักในเรื่องความปลอดภัยของอาหารมากขึ้น ดังนั้น
การรักษาขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าระหว่างประเทศ การผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร
ปลอดภัยซึ่งมีคุณภาพและความน่าเชื่อถือสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้จึงเป็นประเด็นที่กําลังท้าทายผู้
ผลผลิตและผู้ส่งออกของประเทศไทยเป็นอย่างยิ่ง
ประเทศไทยมีศัยกภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นสินค้าออกที่สําคัญของประเทศ
การพัฒนาสินค้าเกษตรและอาหารให้มีคุณภาพสูงยิ่งขึ้นโดยเฉพาะด้านความปลอดภัย จะช่วยยกระดับคุณค่า