Page 23 -
P. 23

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                           3



                 หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดฝักอ่อน และกระเจี๊ยบเขียว ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปผลผลิตสด พริกเป็นพืชอาหารอีก

                 ชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพสูงในการส่งออกทั้งในรูปผลผลิตสด และผลผลิตแห้ง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น พริก
                 ป่น พริกแกง นํ้าพริก นํ้าจิ้ม และซอสพริก เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมาก เกษตรกรปลูกกันมาเป็นระยะ

                 เวลานาน และมีข้อได้เปรียบเมื่อเทียบกับผักชนิดอื่น คือ เตรียมดินและปลูกเพียงครั้งเดียว แต่มีระยะเวลาเก็บ

                 เกี่ยวนานกว่าเหมือนหน่อไม้ฝรั่ง ในขณะที่ลงทุนตํ่ากว่าหน่อไม้ฝรั่ง ประกอบกับนครปฐมมีโรงงาน
                 อุตสาหกรรมต่อเนื่องในการแปรรูปผลผลิตพริกอยู่หลายแห่ง  ในปี 2548  พื้นที่จังหวัดนครปฐม มีการปลูก

                 พริก 6,116 ไร่ ได้รับผลผลิต 16,390 ตัน มูลค่า 267.65 ล้านบาท และข้อมูลของจํานวนเกษตรกรที่ผ่านการ

                 รับรองมาตรฐาน  (Q) ในการปลูกพริกในพื้นที่อําเภอเมือง จํานวน 119 ราย โดยจังหวัดนครปฐมมีการปลูก

                 พริกส่งออกผลผลิตผ่านบริษัทผู้ส่งออกอยู่แล้ว แต่ในการปลูกพริกของเกษตรกรกลุ่มที่ผ่านการรับรอง
                 มาตรฐานจังหวัดนครปฐมเอง กระบวนการ ในการปลูก การจัดการ ยังมีวิธีการปฏิบัติบางขั้นตอน เช่น ใน

                 การใช้ปุ๋ ย สารเคมีต่างๆ และการจัดการผลผลิต การเก็บเกี่ยว การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว ยังไม่ถูกต้อง

                 ครบถ้วนตามระบบการผลิตพืชผักปลอดภัย  เพื่อเป็นการพัฒนา การผลิตพริกจังหวัดนครปฐม ให้เกิดความ
                 ยั่งยืน จึง จําเป็น ต้องมีการศึกษาช่องทางการตลาด ความต้องการ ปัญหา และมาตรฐานในการผลิตพริก

                 คุณภาพและความปลอดภัยเพื่อส่งตลาดทั้งภายในประเทศและตลาดส่งออก รวมทั้งจะต้องมีการศึกษาปัญหา

                 และความต้องการของผู้บริโภค เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบการผลิต เพิ่มคุณภาพ และความปลอดภัย

                 ของผลผลิต ยกระดับมาตรฐานการผลิตพริกในจังหวัดนครปฐม  และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งตลาด
                 ภายในประเทศ และตลาดต่างประเทศ


                  การศึกษาระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม             เป็นการศึกษาถึงสภาวการณ์ปัจจุบันใน
                 กระบวนการผลิต การจัดการผลผลิต ตามระดับมาตรฐานของเกษตรกรผู้ปลูกพริกจังหวัดนครปฐม       ทั้งใน

                 แปลงที่ผ่านการรับรองการผลิต (Q) และในแปลงที่ไม่ได้ทําการผลิตภายใต้ระบบ GAP ศึกษากระบวนการใน

                 การได้รับความรู้และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร และศึกษาสภาวการณ์การตลาด ผู้บริโภคใน
                 ปัจจุบัน เพื่อให้ได้ข้อเสนอแนะในการยกระดับมาตรฐานการผลิต และพัฒนารูปแบบในการแก้ปัญหาการ

                 ผลิตตามมาตรฐานในระดับต่างๆ ตามความต้องการของตลาด ผู้บริโภค และพัฒนาการผลิตพริกปลอดภัยเพื่อ

                 การค้าที่ยั่งยืนต่อไป
   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28