Page 26 -
P. 26

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             6



             เข้มงวดเอาจริงเอาจัง 1 และจะต้องมีการสร้างมาตรฐานของสินค้าเกษตรตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทางหรือจากไร่

             นาสู่โต๊ะอาหารเลยทีเดียว

                    ในการส่งออกสินค้าเกษตรผู้ผลิตและผู้ส่งออกจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานแบบบังคับที่กําหนดขึ้น

             โดยหน่วยงานราชการของประเทศผู้นําเข้า เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพของสินค้า ปกป้ องสิ่งแวดล้อม และ
             คุ้มครองผู้บริโภค กฎระเบียบเหล่านี้แตกต่างกันไปตามประเภทของสินค้าและตามแต่ละประเทศที่ส่งออก

             และนําเข้า กฎระเบียบในบางประเทศจะอ้างอิงจากมาตรฐานสากล แต่ในบางประเทศก็พัฒนาขึ้นเองใน

             ประเทศนั้นๆ สินค้าที่ไม่เป็นไปตามข้อกําหนดหรือมาตรฐานอาจจะถูกกักหรือถูกปฏิเสธโดยประเทศผู้นําเข้า

             ได้ อาหารจะปลอดภัยได้ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิตที่ต้นนํ้าจากแปลงเกษตรกร ขณะที่หลายๆ ประเทศ
             ได้กําหนดหลักเกณฑ์การผลิตที่ถูกต้อง ที่เรียกว่า การปฏิบัติตามมาตรฐานการเกษตรดีที่เหมาะสม   (Good

             Agricultural Practice - GAP) มาตรฐานนี้เป็นมาตรฐานสําหรับเกษตรกรเพราะครอบคลุมกระบวนการผลิต

             ทางการเกษตรทั้งในแง่ของการใช้ปัจจัยการผลิต ไปจนถึงขั้นของการจําหน่ายผลผลิต (FAO, 2007)

                    การปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสม  (GAP) (FAO, 2007, p. 35) หมายถึง “การปฏิบัติที่มุ่งจัดการ

             ให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของกระบวนการในฟาร์ม ซึ่งจะมีผลทําให้อาหารและ

             ผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและความปลอดภัย ” ซึ่งได้มีการพัฒนาเกณฑ์ข้อกําหนดของการปฏิบัติทาง
             การเกษตรดีที่เหมาะสม รวมถึงมาตรฐานและระเบียบต่างๆ เป็นแนวทางการปฏิบัติเมื่อไม่กี่ปีมานี้ โดย

             อุตสาหกรรมอาหาร องค์กรผู้ผลิต รัฐบาล และเอกชน โดยมีเป้ าหมายที่จะทําให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติการ

             เกษตรในระดับฟาร์ม ทั้งนี้เนื่องจากฝ่ายต่างๆ ได้เล็งเห็นความสําคัญเกี่ยวกับคุณภาพและความปลอดภัยของ
             อาหารที่ผลิตในประเทศต่างๆ ทั่วโลก


                    FAO (2007)  ตั้งข้อสังเกตว่า แม้ว่ามาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสม  (GAP)  จะมี

             ประโยชน์อยู่หลายเรื่อง เช่น เป็นการปรับปรุงผลผลิตให้มีคุณภาพและความปลอดภัย เป็นการสร้างโอกาส
             ทางการตลาดใหม่สําหรับเกษตรกรและผู้ส่งออกในประเทศกําลังพัฒนา และลดความเสี่ยงเกี่ยวกับการใช้

             สารเคมีทางการเกษตรที่ต้องห้าม ลดปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิตเกินระดับเกณฑ์ข้อบังคับ   (MRLs)

             รวมถึงลดการปนเปื้อนของสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ในขณะเดียวกั   นปัญหาที่ท้าทายในการทํา
             การเกษตรตามระบบ GAP ก็คือ ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการตรวจสารเคมีตกค้าง การ

             จัดทําระบบเอกสารและการตรวจรับรอง


                    2.1.2 ทิศทางการกําหนดมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหารในเวทีโลก

                    เพื่อชิงความได้เปรียบในเชิงการค้าในเวทีโลก ทั้งภาครัฐและเอกชนในประเทศผู้ส่งออกและ/หรือ

             นําเข้าสินค้าเกษตรต่างเร่งพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยของสินค้าเกษตรและอาหาร ตลอดจนพยายาม
             เทียบเคียงมาตรฐานของตนกับมาตรฐานของสากล  FAO (2007) ได้แบ่งมาตฐานสินค้าเกษตรออกเป็น 3

             ระดับ ได้แก่ ระดับสากล (International) ระดับภูมิภาค (Regional) และระดับประเทศ (National)
   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31