Page 31 -
P. 31
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
11
บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กิจกรรม พืช ปศุสัตว์ ประมง
กําหนดมาตรฐาน มกอช.
ส่งเสริม กรมส่งเสริม กรมปศุสัตว์ กรมประมง
การผลิตตามมาตรฐาน การเกษตร
ให้การตรวจสอบรับรอง กรมวิชาการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมง
ทวนสอบระบบการรับรอง มกอช.
ภาพที่ 2-2 บทบาทของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการพัฒนามาตรฐานความปลอดภัย
ที่มา: นลินทิพย์ เพณี (2552)
ในเวลาต่อมาประเทศไทยได้ตราพระราชบัญญัติออกมา 3 ฉบับ เพื่อบังคับใช้มาตรฐานสินค้าเกษตร
และคุ้มครองผู้บริโภค ได้แก่ 1) พระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 เนื่องจากประเทศไทยกําลัง
เร่งรัดพัฒนาสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐานและโดยที่ในปัจจุบันสินค้าเกษตรหลายชนิดทั้งที่ผลิตขึ้นในประเทศ
และนําเข้าจากต่างประเทศยังไม่มีมาตรฐานใช้บังคับ เป็นเหตุให้สินค้าเกษตรด้อยคุณภาพและไม่ปลอดภัยต่อ
ผู้บริโภค ประชาชนขาดความเชื่อถือ และส่งผลกระทบต่อการประกอบกิจกรรมสินค้าเกษตรของไทย ทําให้
ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ และเพื่อให้สอดคล้องกับพันธกรณีระหว่างประเทศ (พรบ. มาตรฐาน
สินค้าเกษตร พ.ศ. 2551) พระราชบัญญัติความรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย
พ.ศ. 2551 และพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551 เพื่อกําหนดความรับผิดชอบในความ
เสียหายของผู้บริโภค ขณะเดียวกันเป็นการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการธุรกิจหันมาให้ความสําคัญต่อการพัฒนา
คุณภาพสินค้าและบริการให้ดียิ่งขึ้น ทําให้ประเทศไทยต้องปรับโครงสร้างการผลิตให้เกิดความเชื่อมโยงของ
ระบบอย่างต่อเนื่อง และต้องการสร้างระบบประกันคุณภาพตลอด supply chainโดยเร็ว
2.2.3 ประเภทของมาตรฐานความปลอดภัย
จําแนกออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะรูปแบบของมาตรฐาน (นลินทิพย์ เพณี, 2552) ได้แก่
1) มาตรฐานสินค้า เป็นมาตรฐานที่กําหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นเกณฑ์ระดับในประเทศในการผลิตสินค้า
และการตรวจรับรอง โดยข้อกําหนดครอบคลุมทั้งด้านความปลอดภัยและคุณภาพที่จําเป็นที่ผู้บริโภคต้องการ
2) มาตรฐานระบบการผลิต เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตรวจให้การรับรองการปฏิบัติของผู้ผลิต ตั้งแต่
การผลิตระดับฟาร์ม (มาตฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี หรือ GAP) ระดับโรงคัดบรรจุและโรงงาน