Page 36 -
P. 36

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             16



                    จากข้อมูลสัดส่วนพื้นที่จังหวัด/พื้นที่การเกษตรจากข้อมูลการใช้พื้นที่การเกษตรย้อนหลัง 7 ปี พบว่า

             พื้นที่เกษตรลดลงในปี 2549 และ ปี 2550 และพื้นที่ทางการเกษตรเพิ่มขึ้นในปี 2551 เนื่องจากเกิดวิกฤตการณ์
             ทางด้านเศรษฐกิจ ทําให้ภาคเกษตรมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น ราคาผลผลิตเกษตร เช่น ข้าว มีราคาดีขึ้น  และความ

             มีศักยภาพในการปลูกผักของจังหวัดนครปฐม ทําให้มีการใช้พื้นที่ในการเกษตรเพิ่มขึ้นในปี 2551

             (ตารางที่  2-3)

             ตารางที่ 2-3 เปรียบเทียบสัดส่วนพื้นที่จังหวัดและพื้นที่ในการทําเกษตรของจังหวัดนครปฐม

               พื้นที่ทั้งหมด (ไร่)        ปี                พื้นที่เกษตร (ไร่)         สัดส่วน (%)

                  1,355,204               2545                  843,581                    62.25

                                          2546                  847,920                    62.57
                                          2547                  847,855                    62.56

                                          2548                  843,561                    66.24

                                          2549                  847,920                    62.57

                                          2550                  796,299                    58.75
                                          2551                  818,378                    60.38


             ที่มา: สํานักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม (2552)

                    2.3.2 ข้อมูลการปลูกพริกจังหวัดนครปฐม


                    จังหวัดนครปฐมมีพื้นที่ทั้งหมด 1,355,204 ไร่ เป็นพื้นที่เกษตรกรรมทั้งหมด จํานวน  818,378 ไร่ ใน

             ปี 2551 มีพื้นที่เพาะปลูกผักทั้งหมด 50,610 ไร่ ในจํานวนนี้มีพื้นที่ปลูกพริก  5,078 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 10 ของ
             พื้นที่ปลูกผักในจังหวัดนครปฐม มีผลผลิตพริก  11,171,670  กิโลกรัมหรืประมาณ 11,172 ตัน  ผลผลิตเฉลี่ย

             2,233 ต่อไร่ (สํานักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม, 2552) ทั้งพื้นที่และปริมาณผลผลิตพริกลดลง ในขณะที่ ราคา

             ผลผลิตมีแนวสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี 2546 และ   2547 และค่อนข้างคงที่ระหว่างปี  2548-2550
             สํานักงานคลังจังหวัดนครปฐม (2552) (ตาราง 2-4)


             ตารางที่ 2-4 แสดงปริมาณ ราคาเฉลี่ย และมูลค่าของพริกขี้หนู ปี 2546 - 2550

             รายการ          หน่วย    2546         2547        2548        2549         2550        2551
             พื้นที่เพาะปลูกทั้ง
             จังหวัด         ไร่         8,030        6,216       6,499       6,298        6,162     5,078

             ผลผลิตรวมทั้ง   ตัน         21,479      16,796       17,419      16,942      16,020    11,172
             จังหวัด

             ราคา ณ แหล่งผลิต  บาท/ตัน   13,340      14,350       16,330      16,500      16,940      NA
             มูลค่าผลผลิต    บาท       286,529,860  241,022,600  284,452,270  279,536,730  271,378,800   NA
             ที่มา : สํานักงานคลังจังหวัดนครปฐม (2552)

             NA หมายถึง ไม่มีข้อมูล
   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40   41