Page 39 -
P. 39

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                          19



                 2.4 ยุทธศาสตร์จังหวัดนครปฐม

                  รัฐบาลมีนโยบายในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรเพื่อประชาชน ให้มีอาหารที่พอเพียงและ

                 ปลอดภัยได้มาตรฐานปราศจากสารปนเปื้อน มีคุณค่าทางโภชนาการและเป็นพื้นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก

                 ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้แปลงนโยบายดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารของ

                 กระทรวงฯ โดยกําหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนํานโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฎิบัติ โดยการสร้าง
                 ความเข้าใจกับเกษตรกรถึงความจําเป็นที่จะต้องผลิตสินค้าปลอดภัยและได้มาตรฐานและความต้องการของ

                 ผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตสินค้าเกษตรตามระบบ  GAP  และได้รับการรับรองมาตรฐาน

                 แหล่งผลิต GAP  (http://nakhonpathom.doae.go.th/content/คู่มือโครงการกรมฯปี52/พืชปลอดภัย.pdf,  2552)

                        นครปฐมได้กําหนดยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะเป็น   “แหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร เกษตร

                 อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารและปลอดภัย ” (สํานักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม , 2552)

                 แต่นโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะบรรลุเป้ าหมายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตต้นทางคือเกษตร ว่าจะ
                 ยอมรับระบบการผลิตแบบปลอดภัย (GAP) หรือไม่


                        สําหรับพืชอาหารของนครปฐมที่เกษตรกรสามารถผลิตในระบบ  GAP  และส่งออกได้แล้ว ได้แก่
                 หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน และกระเจี๊ยบเขียว ส่วนใหญ่ส่งออกในรูปผลผลิตสด พริกเป็นพืขอาหารอีกชนิด

                 หนึ่งที่มีศักยภาพในการส่งออกทั้งในรูปผลผลิตสด ผลผลิตแห้ง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ เช่น  พริกป่น พริกแกง

                 นํ้าพริก นํ้าจิ้ม และซอสพริก เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกค่อนข้างมาก เกษตรกรปลูกกันมานาน และมีข้อได้เปรียบ
                 เมื่อเทียบกับผักชนิดอื่นคือ เตรียมดินและปลูกเพียงครั้งเดียวแต่มีระยะเก็บเกี่ยวได้นานกว่าเหมือนหน่อไม้ฝรั่ง

                 ในขณะที่การลงทุนตํ่ากว่าหน่อไม้ฝรั่ง  ประกอบกับนครปฐมมีโรงงานอุตสาหกรรมมต่อเนื่องแปรรูป

                 ผลิตภัณฑ์จากพริกอยู่หลายแห่ง


                 2.5 ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม

                        การปลูกพริกระบบปลอดภัย   (Chili GAP) เป็นแนวทางในการผลิตพริก เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีความ

                 ปลอดภัยและคุณภาพดี ตรงตามมาตรฐานที่กําหนด มูลค่าผลผลิตสูง คุ้มกับการลงทุนซึ่งกระบวนการผลิต
                 จะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเกิดความยั่งยืนทาง

                 การเกษตร ไม่ทําให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม โดยแปลงของเกษตรกรจะต้องผ่านการรับรองการผลิตพริกตาม

                 ระบบการผลิตปลอดภัย  GAP  คือ กระบวนการผลิตอย่างเป็นระบบให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัย ปลอดจาก
                 ศัตรูพืชและคุณภาพเป็นที่พึงพอใจของผู้บริโภค และผ่านการตรวจประเมินรับรองกระบวนการผลิตและการ

                 ตรวจรับรองตามระบบการจัดการคุณภาพตามมาตรฐานของกรมวิชาการเกษตร


                        เพื่อบรรลุนโยบายและยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัย หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้ให้ความรู้เรื่อง
                 การผลิตพริกปลอดภัยแก่เกษตรกรผ่านทางเอกสารต่างๆ เช่น ระบบจัดการคุณภาพ    : GAP  พริกสําหรับ

                 เกษตรกร (กรมวิชาการเกษตร ,  2547) เอกสารสนับสนุนระบบจัดการคุณภาพ : GAP  พริกสําหรับเกษตรกร

                 (กรมวิชาการเกษตร,  2547)  แบบบันทึกระบบจัดการคุณภาพ  GAP  สําหรับเกษตรกร  (กรมวิชาการเกษตร,
   34   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44