Page 38 -
P. 38
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
18
- ต้นทุนการผลิต เช่น เมล็ดพันธุ์ ปุ๋ ย ยาฆ่าแมลงและสารเคมีต่างๆ มีราคาที่สูงขึ้น
- ดิน และนํ้า เนื่องจากเกษตรกรบางรายมีพื้นที่การเกษตรที่จํากัดจึงมีการใช้ที่ดินซํ้าๆ
ทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับดินเสื่อมคุณภาพ และทําให้ไม่สามารถปลูกพืชชนิดเดิมๆซํ้าในพื้นที่เดิมได้
นอกจากนี้เกษตรกรยังประสบปัญหาเกี่ยวกับแหล่งนํ้า พบว่าแหล่งนํ้าบางแห่งมียาฆ่าแมลงหรือสารเคมี
ต้องห้ามบางชนิดปนเปื้อน
- เมล็ดพันธุ์ผัก พบปัญหาเกี่ยวกับพันธุ์ผักที่อ่อนแอต่อโรค เมล็ดพันธุ์เป็นพันธุ์ผสมทํา
ให้ไม่สามารถเก็บไว้ปลูกต่อได้ นอกจากนี้ยังพบว่า พันธุ์ของพืชบางชนิดไม่สามารถให้ผลผลิตที่ดีได้ในบาง
ฤดูกาล อาทิเช่น กระเจี๊ยบเขียวจะให้ผลผลิตได้ไม่ดีในช่วงต้นฤดูฝนคือ ประมาณช่วงเดือนพฤษภาคม เป็นต้น
- ด้านการผลิตและการแปรรูป
- ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น มีสารเคมีตกค้าง มีเชื้อโรคปนเปื้อน ผลผลิตมีตําหนิ
- คุณภาพ และปริมาณของผลผลิตไม่สมํ่าเสมอ
- การรับรอง GAP ยังไม่มีมาตรฐานการรับรองในเรื่องของการใช้สารชีวภาพกับการ
เพาะปลูกผัก ดังนั้น เกษตรกรต้องการมาตรฐานการวิเคราะห์การใช้สารชีวภาพ หรือปุ๋ ยหมักชีวภาพ
3) ส่วนของการตลาด
ปัญหาที่เกษตรกรผู้ผลิตผักประสบ ในด้านการตลาด ได้แก่
- ราคาซื้อ-ขาย ผลผลิตไม่แน่นอน ทําให้ไม่สามารถกําหนดราคาขายให้สัมพันธ์กับ
ต้นทุนการผลิตได้
- ราคาของพืชผักที่มีการรับรอง GAP กับราคาของผักทั่วไปนั้น ไม่ค่อยมีความแตกต่าง
กัน
- มาตรฐานที่รับซื้อผลผลิตผักและมาตรฐานการส่งออกของแต่ละบริษัท มีความ
แตกต่างกันทั้งใน และต่างประเทศ
4) ส่วนของผู้บริโภค
ในส่วนของผู้บริโภคเองก็เป็นปัญหาให้กับผู้ผลิตผักได้เช่นกัน ปัญหาต่างๆ ดังนี้
- ขาดการกระตุ้นและไม่เห็นความสําคัญของการบริโภคผักตั้งแต่วัยเด็ก เนื่องจาก
ปัจจุบันมีสื่อโฆษณามากมายหลายชนิดที่สร้างค่านิยมที่ผิดๆเกี่ยวกับการบริโภค
- ขาดการพัฒนาชนิดของอาหารที่ใหม่ซึ่งมีผักเป็นส่วนประกอบ
- ขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการบริโภคผัก
แนวทางในการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐมเพื่อการค้า จะต้องมีความร่วมมือกันเพื่อ
ความสําเร็จ และความยั่งยืนในการปลูกพริก จะต้องคํานึงถึงความมั่นคงของผู้ผลิต ความปลอดภัยของระบบ
การผลิต ผลผลิตพริกที่มีคุณภาพสู่ตลาด คุณภาพชีวิตของผู้บริโภค