Page 42 -
P. 42

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             22



                    พฤติกรรมนี้เกี่ยวข้องกับการจัดการความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจในการเลือกทางเลือก

             ใหม่ (GAP) กับสิ่งเดิมที่ทําอยู่ก่อนหน้านั้น ความใหม่ของนวัตกรรมและความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับความ
             ใหม่เป็นลักษณะที่เด่นชัดของการตัดสินใจการยอมรับนวัตกรรมเมื่อเทียบกับการตัดสินใจประเภทอื่นๆ


                    กระบวนการตัดสินใจในการยอมรับนวัตกรรมของบุคคลจะเกิดขึ้นเมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป
             ประกอบด้วยลําดับของการปฏิบัติและตัดสินใจ 5 ขั้นตอน ดังนี้

                    (2.1)     ความรู้ - เกิดขึ้นเมื่อบุคคลได้เจอ/รู้/ได้ยินเกี่ยวกับนวตักรรมใหม่ที่มีและรู้เข้าใจว่ามันทํา

                           อย่างไร

                    (2.2)  การชักชวน/จูงใจ – เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเริ่มมีทัศนคติที่ดี/ไม่ดีต่อคุณลักษณะของนวัตกรรม
                    (2.3)  การตัดสินใจ - เกิดขึ้นเมื่อบุคคลเข้าไปมีกิจกรรมซึ่งนําไปสู่การยอมรับหรือปฏิเสธ

                           นวัตกรรม

                    (2.4)  การลงมือปฏิบัติ – เกิดขึ้นเมื่อบุคคลนําเอานวัตกรรมไปทดลองใช้

                    (2.5)  การยืนยัน – เกิดขึ้นเมื่อบุคคลตอกยํ้า/ยืนยันการยอมรับนวัตกรรมที่รับไปแล้ว หรือเปลี่ยน
                           การตัดสินใจจากการยอมรับ หรือปฏิเสธนวัตกรรม ถ้าได้รับข้อมูล/ข่าวสารที่ขัดแย้งเกี่ยวกับ

                           นวัตกรรม

                    นอกจากนี้การยอมรับนวัตกรรมยังขึ้นอยู่กับเงื่อนไข/กฏเกณฑ์ต่างๆ คุณลักษณะของห  น่วยการ

             ตัดสินใจและคุณลักษณะ ของนวัตกรรมเอง (ภาพที่ 2-4) หากสถา นการณ์ และเงื่อนไขกฎเกณฑ์ต่างๆ ไม่

             แตกต่างกันแล้ว อาจกล่าวได้ว่า คุณลักษณะของนวัตกรรมจะเป็นตัวกําหนดการยอมรับนวัตกรรม
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47