Page 37 -
P. 37
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
17
ในการผลิตเกษตรกรมีต้นทุนการปลูกพริกขี้หนูในปี พ.ศ. 2546-2550 พบว่าต้นทุนการผลิตสูงขึ้นใน
ปี 2550 ประมาณหนึ่งเท่าตัวจากปี 2546 โดยเฉพาะ ราคาปุ๋ ย สารกําจัดแมลง และนํ้ามันเชื้อเพลิง โดยมีการใช้
สารเคมีกําจัดศัตรูพืช วัชพืช เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากเกษตรกรมีพื้นที่ถือครองน้อย และในการปลูกพริกเกษตกร
ใช้พื้นที่แปลงเดิมในการเพาะปลูกโดยไม่มีการพักดิน หรือการดูแลรักษาดินโดยใช้ปุ๋ ยพืชสด ปุ๋ ยอินทรีย์ ทํา
ให้อินทรีย์วัตถุในดินน้อย ดังนั้นการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกร คือการใช้ปุ๋ ยเคมี (ตารางที่ 2-5)
ตารางที่ 2-5 แสดงรายการค่าใช้จ่ายเฉลี่ยในการปลูกพริกขี้หนู ปี 2546 - 2550
รายการ หน่วย 2546 2547 2548 2549 2550
1. ค่าใช้จ่ายขั้นกลาง ต่อไร่ บาท 3,101 3,333 4,315 5,669 5,948
1.1 ค่าพันธุ์ บาท 980 1,100 1,250 1,365 1,370
1.2 ค่าปุ๋ ย บาท 550 517 720 994 1,038
1.3 ค่าสารกําจัดแมลง และกําจัดวัชพืช บาท 150 183 520 935 950
1.4 ค่าบริการทางการเกษตร บาท 650 670 700 940 950
1.5 ค่าอุปกรณ์ในการเกษตร บาท 125 125 220 175 200
1.6 ค่านํ้ามันเชื้อเพลิงและหล่อลื่น บาท 230 250 300 600 700
1.7 ค่าซ่อมแซมอุปกรณ์การเกษตร บาท 106 150 250 270 290
1.8 ค่าวัสดุในการหีบห่อ บาท 150 160 165 190 200
1.9 ดอกเบี้ยจ่าย - ดอกเบี้ยรับ บาท 160 178 190 200 250
ที่มา : สํานักงานคลังจังหวัดนครปฐม, 2552
จากรายงานผลการจัดประชุมวิชาการจังหวัดนครปฐม “ฐานคน ฐานทรัพยากร ฐานคิด : การพัฒนา
จังหวัดนครปฐมบนฐานข้อมูลและการมีส่วนร่วม” ผลสรุปการเสวนากลุ่มผูลผลิตผัก พบว่าปัญหาการปลูก
ผักจังหวัดนครปฐม เกษตรกรยังประสบกับปัญหาในหลายๆ ด้าน ซึ่งห่วงโซ่การผลิตผักประกอบด้วย ส่วน
ของผู้ผลิต กระบวนการผลิต การตลาด และผู้บริโภค ซึ่งในแต่ละส่วน ประสบปัญหาที่ต่างกันออกไป ดังนี้
(สาคร ชินวงค์ และชัชรี นฤทุม, 2552)
1) ส่วนของผู้ผลิต
เกษตรกรผู้ผลิตผักในจังหวัดนครปฐมประสบกับปัญหาในด้านต่างๆ ได้แก่
- ด้านแรงงาน เนื่องจากเกษตรกรขาดแรงงานด้านการผลิตในบางช่วงหรือบางฤดูกาล
โดยเฉพาะ ในช่วงหรือฤดูการทํานาและเก็บเกี่ยวข้าว
- ด้านวิชาการ เนื่องจากเกษตรกรยังขาดความรู้ทางด้านวิชาการ
2) ส่วนของการผลิต
ปัญหาที่เกษตรกรผู้ผลิตผักประสบในด้านการผลิตผัก สามารถแบ่งออกเป็น 2 ด้านได้แก่
- ด้านปัจจัยการผลิต