Page 41 -
P. 41
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
21
ขั้นตอนเพื่อนําไปสู่การเรียนรู้ โดยกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดการปฏิบัติในกิจกรรมการเรียนการสอน ถ้ามีการ
ปฏิบัติฝึกฝนในกิจกรรมการเรียนการสอนมาก ก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพในการเรียนรู้ การปฏิบัติซํ้า ควรเว้นช่วง
ที่พอเหมาะ ขึ้นอยู่กับเรื่องที่ทําการสอน กิจกรรม และผู้เรียน สิ่งใดที่เรียนไปแล้วแต่ไม่ได้นําไปใช้ปฏิบัติหรือ
ทบทวนมักจะถูกลืม
(1.5) มีความสัมพันธ์หรือการต่อเนื่องในสิ่งที่เรียน การเรียนแต่ละเรื่องที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวเนื่องต่อ
กันย่อมทําให้เกิดการเรียนรู้ที่ดีกว่าการเรียนเก็บไว้ทีละอย่าง ซึ่งยังมองไม่เห็นว่าจะไปสัมพันธ์กับอะไร
ผู้เรียนจะเข้าใจมากขึ้นถ้ามีการชี้แจงให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างกัน การเรียนให้สัมพันธ์ต่อเนื่องกัน
นับว่าเป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีกับเกษตรกร ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ที่สะสมมานาน คือ เขาสามารถที่จะ
มองเห็นความสัมพันธ์หรือผูกพันเรื่องใหม่และเรื่องเก่าให้เข้ากันได้ นอกจากนี้ผู้เรียนจะเรียนได้ผลขึ้นอีกถ้า
เรื่องที่เรียนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับเรื่องที่เขารู้แล้ว หรือกําลังสนใจอยู่ คือ ช่วยทําให้เขาเกิดความสนใจมากขึ้น
เขาใจเร็วขึ้น
(1.6) มีความพอใจในผลการเรียน โดยปกติแล้วผู้เรียนจะเรียนดีขึ้นถ้าการเรียนการสอนเป็นไปอย่าง
น่าใจ สภาพแวดล้อมดี และผลจากการเรียนเป็นที่พอใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเขารู้สึกว่าเขามีความก้าวหน้า
ในการเรียนหรือกําลังประสบผลสําเร็จ คนเรามักชอบทําในสิ่งที่มีความก้าวหน้าและเห็นผลสําเร็จ การทํา
อะไรสําเร็จนั้นเป็นสิ่งจูงใจให้อยากเรียนรู้ ระหว่างทางที่จะไปสู่ความสําเร็จ จําเป็นต้องอาศัยแรงเสริมมา
กระตุ้นให้กําลังใจ
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้ โดยกระบวนการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ต้องมาจาก
ความร่วมมือจากเกษตรกร การรวมกลุ่มของเกษตรกร หน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์การบริหารส่วนตําบล กรม
วิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตรกร ภาคเอกชน บริษัท/ตลาด ในขั้นตอนของการเรียนรู้ จะมี
กระบวนการยอมรับนวัตกรรม (Adoption Process) เกิดขึ้นคู่ขนานไปกับกระบวนการเรียนรู้ด้วย
2) กระบวนการยอมรับนวัตกรรม
Rogers (1995) ได้ให้ความหมายของ กระบวนการตัดสินใจในการยอมรับนวัตกรรม ว่า เป็น
กระบวนการซึ่งบุคคล(หรือหน่วยการตัดสินใจอื่นๆ) ผ่านจากขั้นตอน (1) รู้เกี่ยวกับนวัตกรรม (2) มีทัศนคติ
ต่อนวัตกรรม (3) ตัดสินใจในการยอมรับ/ปฏิเสธนวัตกรรม (4) ลงมือปฏิบัติความคิดใหม่ ( new idea/ในที่นี้
นวัตกรรมคือ การผลิตพริกระบบ GAP) และ (5) ยืนยันผลการตัดสินใจ
กระบวนการนี้ประกอบด้วยลําดับการปฏิบัติและการตัดสินใจเลือกในเวลาที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งบุคคล
ประเมินความคิดใหม่/นวัตกรรม และตัดสินใจว่าจะรวมเอาความคิดใหม่/นวัตกรรมเข้ากับการปฏิบัติที่กําลัง
ทําอยู่เดิมหรือไม่