Page 46 -
P. 46

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             26



                3) จุดมุ่งหมายของกลุ่ม คือ สิ่งที่สมาชิกส่วนใหญ่เข้าใจตรงกันว่า เป็นความสําเร็จที่คนในกลุ่มต้องการให้

             เกิดขึ้นภายในระยะเวลาที่กําหนดไว้ จุดมุ่งหมายของกลุ่มที่ดี คือ จุดมุ่งหมายที่สมาชิกของกลุ่มพึงพอใจ
             เชื่อมั่นว่ากลุ่มจะทําได้สําเร็จและสอดคล้องกับแรงจูงใจของตนในการเข้าเป็นสมาชิก


                74)  7กฎเกณฑ์ คือ แนวทางหรือเครื่องมือที่ใช้สร้างความสัมพันธ์และปฏิบัติตนระหว่างบุคคลในกลุ่มที่
             สมาชิกเข้าใจตรงกัน และถือปฏิบัติเป็นระเบียบข้อบังคับเหมือนๆ กัน กฎเกณฑ์ที่ดีคือ ระเบียบข้อบังคับที่

             สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการกําหนดขึ้น ยอมรับและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด


                5) กิจกรรมและแผนงาน คือ สิ่งที่สมาชิกกําหนดขึ้นในรูปของงานที่กลุ่มจะต้องทําเพื่อให้บรรลุเป้ าหมาย
             ของกลุ่ม และมีการกําหนดวิธีการปฏิบัติไว้เป็นขั้นตอนที่กลุ่มสามารถทําให้สําเร็จได้ตามเป้ าหมาย และก่อน

             ให้เกิดความพอใจในกลุ่มสมาชิก


                6) การสื่อสาร คือ การติดต่อแลกเปลี่ยนข่าวสารกันระหว่างสมาชิกภายในกลุ่มในทุกรูปแบบ จนเกิด
             ความเข้าใจกันในหมู่สมาชิก การสื่อสารที่ดี คือ   การสื่อสารแบบสองทางระหว่างบุคคลในกลุ่มที่ทุกคนมี

             โอกาสเท่าเทียมกันในช่องทาง และรูปแบบของการสื่อสาร ทําให้การรับและถ่ายทอดข่าวสารเป็นไปอย่างมี

             ประสิทธิภาพ

                 7) ผลประโยชน์ คือ สิ่งที่สมาชิกกลุ่มได้รับในรูปแบบ  7ต่างๆ กันและก่อให้เกิดความพึงพอใจจากสิ่งที่

             ได้รับนั้นทางตรงและทางอ้อม โดยจะต้องมีการจัดสรรผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม

                ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม มีแนวทางในการพัฒนาการผลิตโดยเน้นการพัฒนา

             เกษตรกรในการผลิตพริกคุณภาพ โดยใช้กระบวนการกลุ่มในการขับเคลื่อนการพัฒนา โดยสนับสนุนให้มี

             การจัดตั้งกลุ่มซึ่งเป็นการรวมตัวกันของคนในตําบล ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม มีวัตถุประสงค์ในการ
             จัดตั้งกลุ่มในการแลกเปลี่ยนความรู้ และกระบวนการในการพัฒนาการทํางานร่วมกัน โดยประสานความ

             ร่วมมือกันระหว่าง กลุ่มเกษตรกร ภาควิชาการ ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ผู้ประกอบการ


             2.7 ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

                    มีผลการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม   เป็นผลงานศึกษาวิจัยใน

             การส่งเสริมการผลิตผักปลอดภัย ดังนี้

                    การพัฒนาทางเลือกใหม่ในภาคเกษตร: การผลิตผักคุณภาพเพื่อการค้าสําหรับกลุ่มเกษตรกรรายย่อย

             ในจังหวัดนครปฐม เป็นการสร้างทางเลือกอาชีพใหม่ ถ่ายทอดเทคนิคการผลิตผักคุณภาพเพื่อการค้าสําหรับ

             กลุ่มเกษตรกรรายย่อยที่ลงทะเบียนเป็นผู้ประสบปัญหาสังคมและความยากจนในจังหวัดนครปฐม      มีการ
             ประสานความร่วมมือในการทํางาน โดยมีภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในปีแรกของการดําเนินงาน

             เกษตรกรมีการจัดกิจกรรมในการวิจัยทดลอง เช่น ผักกางมุ้ง การถ่ายทอดความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์

             การจัดเวทีชุมชน การสัมมนาและการจัดฝึกอบรม การจัดให้มีการศึกษาดูงาน โครงการฯ  มีกิจกรรมในการ
             จัดตั้งกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตผักคุณภาพในปี 2547-2548 ได้สําเร็จจํานวน 6 กลุ่ม 44 ราย พื้นที่ทํากิจกรรม 49 ไร่
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51