Page 51 -
P. 51
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
บทที่ 3
วิธีการวิจัย
การศึกษาระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม เป็นการศึกษาถึงสภาวการณ์ปัจจุบันในการ
ผลิต กระบวนการผลิต การจัดการผลผลิต การได้รับความรู้/เทคโนโลยีและการนําไปใช้ประโยชน์ในการ
ประกอบอาชีพของเกษตรกรผู้ปลูกพริก ศึกษาปัญหา ความต้องการ มาตรฐานของผู้บริโภค และ
ผู้ประกอบการ ทั้งตลาดภายในและตลาดส่งออกผลผลิตพริกนครปฐม โดยมีการเก็บรวบรวมข้อมูล มี
ขอบเขตการวิจัย วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล และการวิเคราะห์ข้อมูล ดังนี้
3.1 กลุ่มตัวอย่างและการเก็บรวบรวมข้อมูล
ได้แก่ประชากรและกลุ่มตัวอย่างของกลุ่มเกษตรกรผู้ผลิตพริก ผู้รวบรวมผลผลิต ตลาด ภาคเอกชน
ภาครัฐ ที่เกี่ยวข้อง
3.1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) เกษตรกรผู้ผลิตพริก เกษตรกรกลุ่ม GAP และเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ในจังหวัดนครปฐม มี
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้
ประชากร พื้นที่จังหวัดนครปฐมที่มีการปลูกพริกเป็นจํานวนมากคือ ตําบลบ้านยาง อําเภอเมือง และ
ตําบลหนองกระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน ตําบลลําเหย อําเภอดอนตูม มีเกษตรกรผู้ปลูกพริก ที่ได้รับการรับรอง
มาตรฐานระบบการผลิต ( Q) จํานวน 126 ราย (ข้อมูลประชาการจากศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี, 2552) และ
จํานวนผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป มีทั้งหมดจํานวน 641 ราย (ข้อมูลประชากรจากกรมส่งเสริมการเกษตร, 2552)
กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร
(1) กลุ่มตัวอย่างเกษตรกร รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กลุ่มเกษตรกร แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม
คือ 1) เกษตรกรกลุ่ม GAP หรือเกษตรกรผู้ปลูกพริกภายใต้ระบบการปลูกพริกปลอดภัย ( GAP) จํานวน 64
ราย และ 2) เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP หรือเกษตรกรผู้ผลิตพริกแ บบทั่วไป จํานวน 108 ราย
ทําการสุ่มตัวอย่างจากประชากรด้วยวิธี Simple Random Sampling โดยเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง
กระจายตัว ดังนี้ 1) เกษตรกรกลุ่ม GAP ในพื้นที่ตําบลบ้านยาง โพรงมะเดื่อ อําเภอเมือง จํานวน 46 คน ตําบล
หนองกระทุ่ม อําเภอกําแพงแสน จํานวน 18 คน 2) เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ในพื้นที่ตําบลบ้านยาง ตําบล
โพรงมะเดื่อ ตําบลหนองงูเหลือม อําเภอเมือง จํานวน 91 คน ตําบลทุ่งลูกนก หนองกระทุ่ม อําเภอ
กําแพงแสน จํานวน 16 คน ตําบลลําเหย อําเภอดอนตูม จํานวน 1 คน รายละเอียดดังแสดงในตารางที่ 3-1