Page 54 -
P. 54
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
33
3) กลุ่มภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อศึกษาถึง กลไก การสนับสนุนในการทํางานร่วมกันเพื่อผลักดันให้มี
การยกระดับมาตรฐานการผลิตพริกในจังหวัดนครปฐมสู่มาตรฐานสากลโดยมีกลุ่มตัวอย่างดังนี้
กลุ่มตัวอย่างภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
สัมภาษณ์เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้อง สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและ
อาหารแห่งชาติ (มกอช.) สํานักงานวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 (สวพ.5) และทํางานร่วมกับนักส่งเสริม
เกษตรในพื้นที่กรมส่งเสริมการเกษตร (รายละเอียดภาคผนวก ค)
(1) ดร. อุทัย พิสณฑ์ ที่ปรึกษาสํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(2) คุณ นลินทิพย์ เพณี สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ
(3) คุณทอม เตียะเพชร สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
4) เวทีประชาพิจารณ์ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม เพื่อนําเสนอผลการศึกษา และระดม
ความคิดเห็นระหว่างเกษตรกร นักวิชาการ นักส่งเสริมการเกษตร ผู้แทนจากตลาด/บริษัท ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
เพื่อร่วมกันยกระดับมาตรฐานการผลิตพริกจังหวัดนครปฐม วันที่ 24 มิถุนายน 2552 ณ ห้องประชุมตาลกิ่ง
(203) อาคารฝึกอบรม สํานักส่งเสริมและฝึกอบรม กําแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกลุ่มตัวอย่าง
ผู้เข้าร่วมเวทีประชาพิจารณ์ จํานวน 48 คน ดังนี้ (รายละเอียดภาคผนวก ง)
(1) นักวิชาการ อาจารย์ จํานวน 13 ราย
(2) ตัวแทนจากหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง จํานวน 6 ราย
(3) ภาคเอกชน ตลาด ผู้ประกอบการ จํานวน 5 ราย
(4) เกษตรกร จํานวน 24 ราย
3.1.2 ขอบเขตการวิจัย
งานวิจัยนี้ศึกษาระบบการผลิตพริกปลอดภัยในจังหวัดนครปฐม ศึกษาการผลิตพริก การจัดการ
ผลผลิต และการได้รับความรู้/เทคโนโลยีการผลิตพริก และการนําความรู้ไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกรใน
พื้นที่ที่มีการปลูกพริก 3 อําเภอ ในจังหวัดนครปฐม ได้แก่ อําเภอเมือง อําเภอกําแพงแสน และอําเภอดอนตูม
ศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภคพริกกลุ่มผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดนครปฐม และศึกษาเส้นทางผลผลิตพริก โดย
ศึกษาตั้งแต่ต้นทาง ผู้ประกอบการ ตลาด บริษัทส่งออกพริกจังหวัดนครปฐมไปยังผู้บริโภค แผนที่พื้นที่ศึกษา
ดังแสดงในภาพที่ 3-1