Page 48 -
P. 48

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             28



             ประโยชน์ของ GAP ปัญหาอุปสรรคของ GAP สําหรับรูปแบบของการจัดการ GAP พืชแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ

             กลุ่มที่ 1 พืชที่สามารถปฏิบัติตาม GAP และเกษตรกรได้ใบรับรอง  GAP แล้ว กลุ่มที่ 2 พืชที่เข้าร่วม GAP แต่
             ยังไม่ได้ใบรับรอง คือพริก และกลุ่มที่ 3 พืชที่ไม่ได้มีการจัดการ GAP พืช ปัญหาอุปสรรคคือไม่มีคําแนะนํา

             ตามระบบการปฏิบัติเฉพาะพื้นที่   ไม่มีหลักประกัน   ไม่มีการรณรงค์ให้เห็นความสําคัญ   ไม่มีการจัดการ

             contact farming และการประกันราคา ไม่มีการประสานความร่วมมือของเจ้าหน้าที่   วิธีการปฏิบัติตามระบบ
             GAP ยุ่งยาก ไม่มีคําแนะนําในการป้ องกันกําจัดศัตรูพืช ไม่มีการจัดทําแปลงตัวอย่าง ปัญหาขั้นตอนการตรวจ

             รับรอง  ได้แก่  มีการตรวจรับรองเฉพาะพืชที่มีบริษัทรับซื้อผลผลิต   พืชบางชนิดมีความยุ่งยากในการปฏิบัติ

             ตามระบบ  GAP  เช่น  พริก  ผักกินใบ  เป็นต้น  และปัญหาจํานวนเจ้าหน้าที่สําหรับการตรวจฟาร์มเพื่อออก

             ใบรับรอง  และประสบการณ์มีน้อย  ส่วนรูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมสําหรับ   GAP  ของจังหวัดในภาค
             ตะวันตก ควรเป็นรูปแบบการจัดการ GAP ที่เป็นลักษณะของ contact farming (เช่นในหน่อไม้ฝรั่ง) ที่มีการ

             จัดทําแปลงทดสอบเทคนิควิธีการปฏิบัติ   GAP  ที่เหมาะสมกับชนิดพืช   และศักยภาพของพื้นที่   เพื่อให้

             เกษตรกรเกิดความมั่นใจในการปฏิบัติตามระบบ   GAP  รวมทั้งมีเจ้าหน้าที่ควรติดตามให้คําแนะนําอย่าง
             ใกล้ชิด  และจัดอบรมหลายๆครั้ง   โดยจัดทําแผนการดําเนินงาน   GAP  ในแต่ละพืช/พื้นที่  และจัดทําเป็น

             โครงการนําร่อง (pilot project) (อรพิน เกิดชูชื่น และคณะ, 2548)


                    จากผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีแนวคิดในการศึกษาระบบการผลิตพริกของเกษตรกร ควรมีแนวทางใน
             การส่งเสริมการรวมกลุ่ม  ใช้ระบบกลุ่มขับเคลื่อนในการ ผลิตพริกคุณภาพเพื่อการค้า โดยสร้างความร่วมมือ

             ทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ เอกชน ประชาชน จะต้องมีการ ถ่ายทอดความรู้ เทคโนโลยีในการผลิตพริกคุณภาพ

             เพื่อเข้าสู่ระบบ การปฏิบัติทางการ เกษตรดีที่เหมาะสม  GAP  และสร้างรูปแบบการจัดการที่เป็นลักษณะ
             Contact farming  มีระบบการประกันราคา เจ้าหน้าที่ให้คําแนะนํา กลุ่มเกษตรกรอย่างใกล้ชิด จัดทําเป็น

             โครงการนําร่อง และขยายผลสู่กลุ่มอื่นๆ เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตพริกเพื่อการค้าต่อไป
   43   44   45   46   47   48   49   50   51   52   53