Page 40 -
P. 40

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             20



             2548) และคู่มือเกษตรกร: การปฎิบัติการเกษตรดีที่เหมาะสมสําหรับพืชกลุ่มพืชผัก (สํานักงานเกษตรจังหวัด

             นครปฐม, 2547) คู่มือนักวิชาการส่งเสริมการเกษตรพริก (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2551) เกษตรดีที่เหมาะสม
             สําหรับการผลิตพริก (Good Agricultural Practices for Chili) (http://www.nakhobpathom.doae.go.th/nk1/

             GAP2/V7.pdf, 2552) ตลอดจนมีการอบรมให้ความรู้ระบบ GAP แก่เกษตรกรในพื้นที่ อย่างไรก็ตาม นโยบาย

             และยุทธศาสตร์จะบรรลุผลได้ก็ต่อเมื่อเกษตรกรนําความรู้ที่ได้รับสู่การปฏิบัติจริงและมีการปฏิบัติอย่าง
             ต่อเนื่อง ดังนั้นกระบวนการเรียนรู้และยอมรับการผลิตพริกระบบปลอดภัย  (GAP)  (หรือในที่นี้ระบบ GAP

             อาจเรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม เนื่องจากเป็นระบบที่ยังไม่เคยมีมาก่อน) จึงเป็นหัวใจสําคัญของการบรรลุ

             นโยบายและยุทธศาสตร์อาหารปลอดภัยของจังหวัดนครปฐม

                    2.5.1 กระบวนการเรียนรู้และการยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย


                    ในการผลิตพริกระบบปลอดภัย  (GAP) สําหรับเกษตรกร มีความรู้ใหม่/นวัตกรรมในการปฏิบัติเพื่อ

             เข้าสู่ระบบปลอดภัย มีระบบการจัดการดีที่เหมาะสม มีแนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ การยอมรับ
             นวัตกรรม และกลุ่มและการสร้างเครือข่ายดังนี้


                    1) กระบวนการเรียนรู้ของเกษตรกร

                    วิรัชฎ์ คงคะจันทร์ (2535) การเรียนรู้คือส่วนหนึ่งของกระบวนการที่เกิดขึ้นในตัวบุคคล โดยกิจกรรม

             หรือประสบการณ์ของเขาเอง ทําให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรม เขาเรียนรู้จากสิ่งที่เขากระทํา เขาเรียนรู้

             ได้โดยผ่านกิจกรรมอย่างเดียวหรือหลายอย่างที่เขากระทําด้วยตนเอง โดยมีหลักในการเรียนรู้ ดังนี้

                    (1.1) มีความต้องการที่จะเรียน ความต้องการที่จะเรียนเป็นสิ่งจําเป็นที่ทําให้การเรียนได้ผล ความ

             ต้องการที่จะเรียนอาจเกิดขึ้นจากความสนใจเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอาชีพของเกษตรกรเอง อาจเพื่อ

             แก้ปัญหา หาความรู้หรือแนวคิดใหม่ๆ นอกจากนี้อาจเป็นเพราะถูกเจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือเพื่อนบ้านกระตุ้น
             ให้เกิดความสนใจ จึงเกิดความต้องการเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ


                    (1.2) มีจุดเริ่มต้นที่ดี การพบกันครั้งแรกกับเจ้าหน้าที่ส่งเสริมหรือการประชุมอบรมครั้งแรกๆ นั้นมี
             ความสําคัญ เพราะเป็นขั้นแรกที่จะถูกกระตุ้นความสนใจให้มีมากขึ้น เกิดความรู้สึกว่ามาไม่ผิดทาง เป็นการ

             เริ่มต้นด้วยการสร้างความสัมพันธ์อันดีด้วยความเป็นมิตรและด้วยความเป็นกันเอง ซึ่งจะช่วยยึดโยงให้การ

             เรียนการสอนเป็นไปด้วยดี

                    (1.3) รู้และเข้าใจแนวทางปฏิบัติเพื่อไปถึงจุดหมาย เกษตรกรจะต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่า มีแนวทาง

             หรือกิจกรรมอะไรบ้างที่จะต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุคือการเรียนรู้ในสิ่งที่ประสงค์ คือ ต้องรู้ว่าตนเองต้องทํา

             อะไรบ้างเพื่อให้บรรลุผล ถ้าเกษตรกรรู้หน้าที่ของตนแน่ชัดก็จะทําให้เขาเรียนรู้ได้เร็ว ผลจะเกิดขึ้นตรงกัน
             ข้ามถ้าเกษตรกรไม่ได้รับคําชี้แจงให้เข้าใจในแนวทางปฏิบัติ


                    (1.4) มีการปฏิบัติฝึกฝนด้วยตนเอง การเรียนรู้เป็นผลมาจากกิจกรรมในส่วนของผู้เรียน ผู้เรียน

             จะต้องปฏิบัติหรือฝึกฝนเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ เกิดการเรียนรู้ ผู้ถ่ายทอดความรู้ มีหน้าที่จัดลําดับ
   35   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45