Page 27 -
P. 27

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                           7



                        1) มาตรฐานระดับสากล ( International) ที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ   EurepGAP  ซึ่งเปลี่ยนเป็น

                 GlobalG.A.P. เมื่อ 7 กันยายน 2550 เนื่องจากมีการขยายขอบเขตการทํางานไปทั่วโลกไม่เฉพาะกลุ่มสหภาพ
                 ยุโรป  GlobalG.A.P.  มีเป้ าหมายในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร โดย

                 การพัฒนาแนวทางการปฏิบัติทางการเกษตรดีที่เหมาะสม  (GAP) ขึ้น เพื่อให้ผู้ผลิตนําไปปฏิบัติ จุดเน้นหลัก

                 ของ GlobalG.A.P. คือ ความปลอดภัยของอาหารและการตรวจสอบย้อนกลับของผลิตภัณฑ์ และมีข้อกําหนด
                 เพิ่มเติมในเรื่อง สุขภาพ สวัสดิการและความปลอดภัยของคนงาน ตลอดจนสิ่งแวดล้อมเข้าไปด้วย ระบบของ

                 GlobalG.A.P.  ครอบคลุมเฉพาะการผลิตในระดับฟาร์ม คือตั้งแต่ก่อนปลูกจนกระทั่งผลผลิตถูกขนส่งออก

                 จากฟาร์ม GlobalG.A.P. เป็นมาตรฐานของเอกชนที่จัดทําขึ้นเพื่อการตรวจรับรองแบบสมัครใจ ริเริ่มโดยกลุ่ม

                 ซูปเปอร์มาร์เก็ตที่มีสาขาต่างๆ ในยุโรป  GlobalG.A.P.  ไม่ใช่ข้อกําหนดที่เป็นทางการของสหภาพยุโรป แต่
                 เป็นมาตรฐานที่ทรงอิทธิพลที่ประเทศส่งออกสินค้าเกษตรทั่วโลกต่างให้ความสําคัญ  เห็นได้จากบัญชีรายชื่อ

                 มาตรฐานในหลายๆ ประเทศได้เทียบมาตรฐา นของตนกับ GlobalG.A.P.  และที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน

                 แบบเต็มรูปแบบ (Fully approved  standards) ได้แก่ Australia, New Zealand, United Kingdom, Uruguay,
                 Chile, Colombia, Sweden, Mexico, Netherlands, Germany, Switzerland และ Spain บางประเทศได้รับการ

                 รับรองมากกว่า  1  มาตรฐาน เช่น Spain (http://www2.globalgap.org/full_app_stand.html, 2522 )  สําหรับ

                 ประเทศที่ได้รับการรับรองมาตรฐานแบบมีมีเงื่อนไข  (Provisionally approved standarsds)  ได้แก่ China,

                 Japan  และ Kenya (http://www2.globalgap.org/prov_app_stand.html, 2552) ส่วนประเทศที่อยู่ในระหว่าง
                 การสมัครเข้ารับการรับรอง  (Applicant stansards) ได้แก่ South Korea, Colombia, Chile, Kanya France และ

                 Thailand (http://www2.globalgap.org/applic_stand.html, 2552)

                        มาตรฐาน GlobalG.A.P.ให้ความสําคัญอย่างยิ่งกับการบันทึกการปฏิบัติงานในฟาร์ม ดังนั้นเกษตรกร

                 ผู้ผลิตจะต้องมีระบบการจัดเก็บข้อมูลและการจัดการฟาร์มอย่างละเอียด เพื่อการตรวจสอบย้อนกลับในกรณี

                 ผลผลิตมีปัญหา  GlobalG.A.P.  เองไม่ได้เป็นผู้ตรวจรับรองมาตรฐาน แต่จะเป็นผู้ขึ้นทะเบียนและรับรอง
                 หน่วยตรวจรับรอง (Accreditation body) ให้กับหน่วยตรวจรับรองที่ได้รับการอนุมัติ( Certification body) ทํา

                 การตรวจรับรองแทน ซึ่งการตรวจรับรองนี้จะต้องเสียค่าใช่จ่ายด้วย ดังนั้นผู้ผลิตหรือผู้ประกอบการควร

                 พิจารณาความคุ้มทุนเสียก่อน โดยทั่วไปผู้ผลิตจะต้องชําระค่าธรรมเนียมการขึ้นทะเบียน การตรวจและการ

                 รับรอง ตลอดทั้งกระบวนการตรวจรับรอง การสมัครขอรับการรับรองได้ทั้งในรูปแบบรายบุคคลและเป็น
                 กลุ่ม


                        2)  มาตรฐานระดับภูมิภาค (Regional) ASEANGAP  เป็นมาตรฐานและระบบการรับรองที่ค่อนข้าง
                 ใหม่ ยังไม่เป็นที่รู้จักกันมากนัก ริเริ่มการพัฒนาโดยสํานักงานเลขานุการ  ASEAN (ASEAN  Secretariat)

                 ร่วมกับประเทศสมาชิก ASEANGAP และเริ่มเปิดตัวในปี  2549 ซึ่งครอบคลุมการผลิตในฟาร์ม การเก็บเกี่ยว

                 และการจัดการหลังการเก็บเกี่ยวสําหรับผักและผลไม้สด ในภูมิภาค   ASEAN  วัตถุประสงค์หลักของ

                 ASEANGAP  คือ การพยายามสร้างการยอมรับซึ่งกันและกันของระบบ  GAP  ในประเทศต่างๆในภูมิภาค
                 ASEAN การยกระดับความปลอดภัยในผักและผลไม้สําหรับผู้บริโภค การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32