Page 22 -
P. 22
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
2
และมาตรฐานสําหรับตลาดบนมากขึ้น ประเทศไทยมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการส่งออกสินค้าอาหาร
ปลอดภัยครัวไทยสู่ครัวโลกตั้งแต่ปี 2547(http://www.fda.moph.go.th/
foodbackhome/food/fs_detai/News.asp?id=107, 2552) อาหารจะปลอดภัยได้ต้องเริ่มตั้งแต่กระบวนการผลิต
ที่ต้นนํ้าจากแปลงเกษตรกร ในขณะที่หลายๆ ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย ได้กําหนดหลักเกณฑ์การผลิตที่
ถูกต้องที่เรียกว่าการปฏิบัติตามมาตรฐานการเกษตรดีที่เหมาะสม (Good Agricultural Practice: GAP) ซึ่ง
หมายถึง “การปฏิบัติที่มุ่งจัดการให้เกิดความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคมของกระบวนการ
ฟาร์ม ซึ่งจะมีผลทําให้อาหารและผลผลิตทางการเกษตรมีคุณภาพและความปลอดภัย (FAO, 2007) เพื่อเป็น
แนวทางการผลิตพืชอาหารตามมาตรฐานสินค้าเกษตร โดยความร่วมมือระหว่างสํานักมาตรฐานสินค้าเกษตร
และอาหารแห่งชาติและกรมวิชาการเกษตร โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตรเป็นผู้กําหนดแนวทางนี้สู่เกษตรกร
รัฐบาลมีนโยบายในระดับที่เกี่ยวข้องกับเการเกษตรเพื่อประชาชน ให้มีอาหารพอเพียงและปลอดภัย
ได้มาตรฐาน ปราศจากสารปนเปื้อน และเป็นพื้นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก ซึ่งกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ได้แปลงนโยบายดังกล่าวเป็นยุทธศาสตร์ความปลอดภัยด้านอาหารของกระทรวงฯ และกําหนดให้
หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนํานโยบายและยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติ โดยสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรถึงความ
จําเป็นที่จะต้องผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและได้มาตรฐานตามความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนส่งเสริม
ให้เกษตรกรผลิตสินค้าเก ษตรตามระบบ GAP และได้รับการรับรองมาตรฐานแหล่งผลิต (สัญลักษณ์ Q)
(http://www.nakonpathomdoae.go.th/content/คู่มือโครงการกรมฯ ปี 52/พืชปลอดภัย.pdf, 2552)
สถานการณ์การผลิตผักในประเทศไทย มีการบริโภคและการแปรรูปภายในประเทศไม่ตํ่ากว่า 3.99
ล้านตัน มูลค่า 65,158 ล้านบาท และปริมาณการส่งออกต่างประเทศในรูปของผักสดหรือแช่แข็งปริมาณ
206,765 ตัน มูลค่า 6,995 ล้านบาท และยังมีบางส่วนที่ส่งออกในรูปของผลิตภัณฑ์อีกด้วย เมื่อเทียบกับ
ผลผลิตทั้งหมดที่ผลิตได้ในประเทศ พบว่าปริมาณการส่งออกยังไม่มากนัก เนื่องจากผลผลิตส่วนใหญ่
คุณภาพยังไม่ได้มาตรฐาน ความปลอดภัย ในการผลิตผักปลอดภัย จะต้องมีการปฏิบัติ ตามคําแนะนําทาง
วิชาการของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น กรมวิชาการเกษตร ซึ่งเมื่อเกษตรกรผลิตได้ตามขั้นตอนตาม
คําแนะนําดังกล่าวแล้ว และผ่านการตรวจสอบก็จะได้รับการรับรองการปฏิบัติทางเกษตรดีที่เหมาะสม (GAP)
สําหรับพืช โดยได้รับเครื่องหมายรับรองเป็นสัญลักษณ์ “Q” ผลผลิตที่ได้จากแปลงดังกล่าว จะต้องปลอดภัย
จากสารตกค้างไม่ว่าจะเป็นยาฆ่าแมลง ยาฆ่ารา (พิศวาท บัวรา, 2547)
นครปฐมได้กําหนดยุทธศาสตร์จังหวัดที่จะเป็น “แหล่งผลิตและส่งออกสินค้าเกษตร เกษตร
อุตสาหกรรมและอุตสาหกรรมที่มีคุณค่าทางอาหารและความปลอดภัย ” (สํานักงานเกษตรจังหวัดนครปฐม,
2552) เนื่องจากมีศักยภาพและความพร้อมในด้านทรัพยากรการผลิต ดินอุดมสมบูรณ์ อยู่ในเขตชลประทาน
เกษตรกรมีความรู้ความเชี่ยวชาญ มีเส้นทางคมนาคมที่สะดวก ใกล้ตลาดและสนามบิน นอกจากนี้ยังมี
สถาบันอุดมศึกษาในจังหวัดที่ช่วยสนับสนุนความรู้ทางวิชาการ แต่นโยบายและยุทธศาสตร์ดังกล่าวจะบรรลุ
เป้าหมายได้หรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้ผลิตต้นทาง คือเกษตรกรว่าจะยอมรับระบบการผลิตแบบปลอดภัยหรือไม่
สําหรับพืชอาหารของจังหวัดนครปฐมที่เกษตรกรสามารถผลิตในระบบ GAP และส่งออกได้แล้ว ได้แก่