Page 24 -
P. 24

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

             4




             1.2 วัตถุประสงค์


                    1.2.1. เพื่อศึกษาสภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิต การจัดการผลผลิต  ในการปลูกพริกของเกษตรกรทั้ง

             ในแปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การผลิต (Q) และแปลงที่ไม่ได้ผลิตภายใต้ระบบ  GAP  ในพื้นที่จังหวัด
             นครปฐม


                     1.2.2. เพื่อศึกษาถึงการได้รับความรู้/เทคโนโลยี และการนําไปใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ

             ของเกษตรกรผู้ปลูกพริกทั้งใน แปลงที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน การผลิต (Q) และแปลงที่ไม่ได้ผลิตภายใต้
             ระบบ GAP ในพื้นที่จังหวัดนครปฐม


                     1.2.3. เพื่อศึกษาถึงความต้องการ ปัญหา มาตรฐาน  ของผู้บริโภค  และผู้ประกอบการ ทั้งตลาด
             ภายในประเทศ และตลาดส่งออก ผลผลิตพริกในจังหวัดนครปฐม


                    1.2.4 เพื่อเชื่อมโยงองค์ความรู้ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม

              1.4.5 เพื่อให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายแก่จังหวัดนครปฐมในการพัฒนาระบบการผลิตพริกปลอดภัย

             ของจังหวัดนครปฐม


             1.3 นิยามศัพท์


                    การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) หมายถึง การปฏิบัติทางการเกษตร
             ที่ดีปลอดภัยต่อผู้ผลิตในทุกขั้นตอนการผลิตที่ดําเนินการในระดับเกษตรกร เพื่อให้ได้ผลิตผลที่ปลอดภัยและ

             เหมาะสมต่อการบริโภคตามมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ   หรือมาตรฐานสากล  โดยไม่เกิด

             มลพิษต่อสิ่งแวดล้อม

                    เกษตรกรกลุ่ม  GAP      หมายถึง   เกษตรกรผู้ปลูกพริกจังหวัดนครปฐม ภายใต้การปฏิบัติทาง

             การเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice : GAP) และได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิต (Q)


                    เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP หมายถึง   เกษตรกรผู้ปลูกพริกทั่วไปจังหวัดนครปฐม ที่ไม่ได้ปลูกภายใต้
             การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี


                    เวทีชุมชน   หมายถึง   การรวบรวมข้อมูล ข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการจัดกลุ่มเสวนา/สนทนา ( Focus

             Group Discussion - FGD) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของเกษตรกรผู้ปลูกพริก  กลุ่ม GAP และ กลุ่ม Non-GAP
             และบันทึกข้อมูลความคิดเห็นจากกลุ่ม ในกระดาษ Flipchart โดยใช้เทคนิคต่างๆ เช่น Mind Map ฯลฯ


                    เวทีประชาพิจารณ์    หมายถึง   การนําเสนอผลการวิจัย เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และ

             การแสดงความคิดเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยข้อง (Stakeholder) การผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม  โดยจัดกลุ่ม
             เสวนา/สนทนา (Focus Group Discussion - FGD) ใช้กระบวนการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
   19   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29