Page 25 -
P. 25

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว







                                                            บทที่ 2
                                                       การตรวจเอกสาร



                  การศึกษาระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม มีการรวบรวมข้อมูลที่เป็นประโยชน์ แนวคิด

                 ทฤษฎี และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม ดังนี้

                 2.1 ความปลอดภัยด้านอาหารกับการค้าระหว่างประเทศ

                        2.1.1 สถานการณ์ที่ท้าทาย


                        ประชากรทั่วโลกจํานวนมากไม่สามารถเข้าถึงอาหารที่ปลอดภัยและมีคุณภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหา

                 โรคท้องร่วงสูงขึ้น ประมาณ 70 %  ของโรคท้องร่วงมีสาเหตุมาจากการบริโภคอาหารที่มีการปนเปื้อนของ
                 เชื้อจุลินทรีย์และสารพิษตกค้างจากการใช้วัตถุอันตรายทางการเกษตรที่ไม่ถูกวิธีทําให้อาหารและสินค้า

                 เกษตรไม่มีความปลอดภัย จากปัญหาความไม่ปลอดภัยที่เกิดขึ้นทําให้ผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นในความ

                 ปลอดภัยของอาหารและต้องการหลักประกันในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (มนตรี  กฤษณีไพบูรย์, 2552)

                        ความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ได้กลายเป็นประเด็นสําคัญในเวทีการค้าโลกและได้ถูกใช้

                 เป็นเครื่องมือในการกีดกันทางการค้าในส่วนของอุปสรรคที่ไม่ใช่ภาษี  (Non-tarriff  Trade Barriers  หรือ

                 NBTs) และใช้เป็นมาตรการในการคุ้มครองผู้บริโภคในประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากประเทศเหล่านี้มี
                 มาตรฐานความเป็นอยู่ในระดับสูง จึงค่อนข้างระมัดระวังเรื่องความปลอดภัยด้านอาหารมาก ส่งผลให้

                 ประเทศกําลังพัฒนาทั้งหลาย รวมทั้งประเทศไทยในฐานะประเทศผู้ผลิตอาหารเพื่อการส่งออก จําต้อง

                 ตระหนักถึงความสําคัญของมาตรฐานความปลอดภัยของอาหารที่ผลิตและส่งออกไปจําหน่าย  (วรัญญา ภัทร
                 สุข, 2549)  ขณะเดียวกันทั้งประเทศผู้ส่งออกและ/หรือนําเข้าสินค้าเกษตรทั่วโลกต่างตระหนักถึงความ

                 ได้เปรียบในเชิงการค้าจึงได้พากันพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรของตนขึ้น


                        ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตสินค้าเกษตรและอาหาร ซึ่งเป็นสินค้าส่งออกที่สําคัญของประเทศ
                 การพัฒนาสินค้าอาหารให้มีคุณภาพสูงขึ้นโดยฉพาะด้านความปลอดภัย จะช่วยยกระดับคุณค่าและมาตรฐาน

                 สําหรับตลาดบนมากขึ้น ประเทศไทยมีนโยบายชัดเจนในเรื่องการส่งออกสินค้าอาหารปลอดภัยครัวไทยสู่

                 ครัวโลกตั้งแต่ปี 2547  (http://www.fda.moph.go.th/project/foodsafety/ foodbackhome/food/fs_detailNews.
                 asp?id=107,  2552) แต่การจะผลิตอาหารให้ปลอดภัยสําหรับการค้าระหว่างประเทศได้นั้น อาหารที่ผลิตใน

                 ประเทศจะต้องมีความปลอดภัยก่อน ดังนั้นความปลอดภัยด้านอาหารจึงมีความสําคัญในเชิงนโยบายทั้งระดับ

                 นานาชาติและระดับชาติ ซึ่งนโยบายทั้งสองจะต้องเชื่อมโยงและเอื้อต่อกัน ดังนั้นนโยบายอาหารปลอดภัยจึง

                 ไม่เป็นเพียงเพื่อการค้าระหว่างประเทศ แต่จะเชื่อมโยงกับการผลิต การบริโภค มาตรฐานและการควบคุมด้าน
                 อาหารปลอดภัยในประเทศด้วย (แกมทอง อินทรัตน์     , 2549) 1 อย่างไรก็ตาม นโยบายอาหารปลอดภัยจะ

                 บรรลุผลตามความหวังของรัฐบาลได้ก็ต่อเมื่อกลไกการควบคุมดูแลการใช้สารเคมีการเกษตรจะต้องมีความ
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30