Page 207 -
P. 207
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
201
ปัญหาโรคและแมลงในระบบการผลิตพริกปลอดภัยน่าจะมีมากกว่า เนื่องจากมีการลดการใช้สารเคมี ใช้ตาม
ความจําเป็นและใช้อย่างมีเหตุผล หรือใช้ชีววิธีหรือสารชีวภาพทดแทนซึ่งประสิทธิภาพสู้สารเคมีไม่ได้
เกษตรกรต้องการความช่วยเหลือ ในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพริกระบบปลอดภัย โดยมองว่าอันดับ
แรกคือ ต้องการความรู้ มีแหล่งเงินทุน และมีการประกัน/พยุงราคา ควรมีการจัดหาปัจจัยการผลิตราคาตํ่า เช่น
ปุ๋ ยชีวภาพ สารกําจัดวัชพืชชีวภาพ สารกําจัดโรคและแมลงชีวภาพ ให้แก่เกษตรกร ทั้งนี้ ควรมีการสํารวจ
ความต้องการของเกษตรกรก่อนว่ามีใครบ้างที่ต้องการรวมกลุ่มเพื่อผลิตพริกในระบบปลอดภัย และ
สนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มในพื้นที่เพราะหากเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงยังคงใช้สารเคมี โรคและแมลงก็จะ
มาระบาดในแปลงที่ปลูกในระบบปลอดภัย
การเชื่อมโยงความรู้/เทคโนโลยี ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม
แหล่งความรู้/เทคโนโลยี และการนําไปใช้ประโยชน์ของเกษตรกร
เกษตรกรกลุ่ม GAP ส่วนใหญ่ต้องการความรู้จากแหล่งต่างๆ ลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ (1)
เพื่อนเกษตรกร (2) โทรทัศน์ (3) เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร/นักวิชาการเกษตร และนักวิชาการ/อาจารย์จาก
สถาบันการศึกษา (4) ญาติพี่น้องและร้านเคมีการเกษตร (5) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ และ (6) ผู้นํา
ชุมชนและวารสารการเกษตร เป็นที่น่าสังเกตว่า นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมเอกชน กลุ่ม/เครือข่าย และวิทยุ
เกษตรกรมีความต้องการในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า
แหล่งความรู้ที่เกษตรกรส่วนใหญ่มีความต้องการมากแต่กลับได้รับน้อยกว่าความต้องการมาก ได้แก่
(1) นักวิชาการ/อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (2) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (3) วารสารทางการเกษตร
(4) กลุ่ม/เครือข่าย และ (5) ผู้นําชุมชน จะเห็นได้ว่าการได้รับความรู้จากกลุ่มอยู่ในระดับตํ่ามาก
การนําความรู้ที่ได้รับจากแหล่งต่างๆ ไปใช้ประโยชน์ พบว่า ระดับการใช้ประโยชน์ความรู้ที่ได้รับ
จากแหล่งต่างๆ เกือบทุกแหล่งอยู่ในระดับปานกลาง ยกเว้น เพื่อนเกษตรกรแหล่งเดียวที่อยู่ในระดับมาก เป็น
การตอกยํ้าให้เห็นว่า ช่องทางการให้ความรู้ที่มีประสิทธิผล คือ เพื่อนเกษตกรด้วยกันเอง (Farmer-to-farmer
หรือ peer-to-peer)
เกษตรกลุ่ม Non-GAP ส่วนใหญ่ ต้องการความรู้จากแหล่งต่างๆ เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่
(1) เพื่อนเกษตร (2) ร้านเคมีการเกษตร (3) โทรทัศน์ (4) เอกสารเผยแพร่และสิ่งพิมพ์ต่างๆ (5) นักวิชาการ/
อาจารย์จากสถาบันการศึกษา (6) นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และ (7) ญาติพี่น้อง เช่นเดียวกับ
เกษตรกรกลุ่ม GAP ที่วิทยุ นักวิชาการ/พนักงานส่งเสริมเอกชน และกลุ่ม/กิจกรรมกลุ่ม ที่เกษตรกรมีความ
ต้องการในสัดส่วนที่ตํ่ากว่า
เมื่อพิจารณาถึงความสอดคล้องระหว่างความต้องการความรู้และการได้รับความรู้ จากแหล่งต่างๆ ดู
เหมือนจะไม่มีความสอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อดูจากสัดส่วนความต้องการความรู้จากนักวิชาการ/
อาจารย์ นักวิชาการ/เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และเอกสารเผยแพร่ซึ่งเกษตรกรมีความต้องการสูง แต่กลับ