Page 202 -
P. 202
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
196
เกษตรกรยังคงมีความต้องการความรู้ในเรื่องการผลิตพริกระบบปลอดภัย GAP และกําลังต้องการ
ศูนย์เรียนรู้การปลูกพริกระบบปลอดภัยที่มีแปลงสาธิตในหมู่บ้าน และต้องการให้เจ้าหน้าที่ส่งเสริม
การเกษตรทําหน้าเป็นพี่เลี้ยงในการให้ความรู้อย่างมาก มากไปกว่านั้นควรจัดหาวีซีดีและเอกสารเผยแพร่
เรื่องการผลิตพริกระบบปลอดภัยที่มีการสาธิตกระบวนการผลิตพริกระบบปลอดภัยทั้งกระบวนการ
ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก ตลาดภายในและต่างประเทศ และหน่วยงานราชการในจังหวัดนครปฐม
กําลังอยู่ภายใต้แรงกดดันของมาตรฐาน GAP ทุกระดับ ทั้งระดับสากล ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ ที่
นับวันจะมีความเข้มงวดมากขึ้น และความต้องการผลผลิตที่ปลอดภัยและมีคุณภาพของผู้บริโภค ตลอดจน
กฎหมาย 3 ฉบับที่รัฐบาลเพิ่งนํามาใช้เมื่อปีที่แล้ว (ปี 2551)
การผลิตพริกปลอดภัยจึงไม่ได้เป็นปัญหาเฉพาะในส่วนของเกษตรกรหรือผู้ผลิตอีกต่อไป แต่ได้
กลายเป็นปัญหาร่วมกันของทุกภาคส่วนที่จะรักษาความได้เปรียบในการแข่งขันในการส่งออกในระดับสากล
และในประเทศ ดังนั้นระบบการผลิตปลอดภัยจึงเรียกร้องความพยายามร่วมกันจากทุกภาคส่วน งานวิจัยนี้ได้
ให้แนวทางในการแก้ปัญหา และให้ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย และยุทธศาสตร์สําหรับระบบการผลิตพริก
ปลอดภัยของจังหวัดนครปฐม
Abstract
Safety Chili Production Systems in Nakhon Pathom Province
Sireerat Chetsumon and Sakhon Chinnawong
Kasetsart University
Research Grant Suppirt by the Thailand Research Fund (TRF)
October 2009
This research aims to study 1) current situation of production and managemet of two groups of
chili farmers in Nakhon Pathom province – those producing under Good Agricultural Practice (GAP)
Scheme (GAP farmers) and those not producing under GAP scheme (Non-GAP farmers, 2)
knowledge/technology gain and applications of the knowledge gained of both groups, and 3) problems and
needs of chili consumers, interpreneurs, exporters, domestic and export markets, and government agencies.
It was found that Chili was not grown in sole cropping, but it was grown as a main crop in
intercropping and crop rotation systems. Both groups of farmers shared common problems of disease and
insect epidimics, in paticular anthracnose in rainy season and thrips in dry season, high cost of input, and
price fluctuation. The net income per rai of GAP farmers was 33% greater than those of Non-GAP farmers
indicating the effectiveness of GAP adoption to some extent. Both groups of farmers sold their fresh
produce to local collectors at their farm gate without grading, or any safety and quality control.