Page 204 -
P. 204
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
198
เกษตรกรมีปัญหาด้านแรงงานในการเก็บเกี่ยว โดยเฉลี่ยจะปลูกพริกประมาณ 2.50 ไร่ และเกษตรกรกว่า 1 ใน
3 เช่าพื้นที่ในการเพาะปลูก
ระบบการปลูกและการจัดการผลผลิต
การปลูกพริกของเกษตรกรที่พบในพื้นที่ศึกษามีอยู่ 2 ระบบ คือ 1) ระบบการปลูกพริกหมุนเวียนกับ
การปลูกผักชนิดอื่น (Crop rotation) 2) ระบบการปลูกพริกร่วมกับผักชนิดอื่นในแปลงเดียวกัน ทั้งในระหว่าง
แถวพริก (Intercropping) และหมุนเวียนกับผักชนิดอื่นหลังตัดต้นพริกทิ้ง (Crop rotation) ส่วนใหญ่จะปลูก
ในระยะเวลาใกล้กันในช่วงเดือนมกราคม และขายผลผลิตพริกให้ผู้รวมรวมผลผลิตในหมู่บ้านในเดือน
เมษายน-ตุลาคม เกษตรกรทั้งหมดขายผลผลิตพริกสด โดยไม่มีการแปรรูป โดยมีผู้รวบรวมผลผลิตมารับซื้อที่
แปลงปลูกของเกษตรกร
ผลผลิต ต้นทุนการผลิต และรายได้ของเกษตรกร
ผลผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP สูงกว่ากลุ่ม GAP ประมาณร้อยละ 15.28 แต่ต้นทุนการ
ผลิตต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับตํ่ากว่ากลุ่ม Non-GAP ประมาณร้อยละ 15.60 โดยมีค่าปุ๋ ย สารเคมี
ตํ่ากว่า กลุ่ม Non-GAP ถึงร้อยละ 7.43 แม้ว่ารายได้ต่อไร่ของเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP จะสูงกว่ากลุ่ม GAP
ประมาณ ร้อยละ 8.91 อย่างไรก็ตาม เมื่อดูที่รายได้สุทธิแล้วเกษตรกรกลุ่ม GAP กลับมีรายได้สุทธิต่อไร่สูง
กว่าเกษตรกรกลุ่ม Non-GAP ถึง ร้อยละ 32.79 เมื่อพิจารณาต้นทุนการผลิตของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม พบว่า
ค่าจ้างเก็บพริกเป็นต้นทุนที่สูงมาก และ คือ ร้อยละ 47 ในกลุ่ม GAP และร้อยละ 42 ในกลุ่ม Non-GAP ส่วน
ค่าปุ๋ ย สารเคมีมีต้นทุนสูงเป็นลําดับสอง คือ ร้อยละ 39.9 และร้อยละ 45.3
การยอมรับการผลิตพริกระบบปลอดภัยของกลุ่ม GAP
เกษตรกรยอมรับการปลูกพริกระบบปลอดภัย (GAP) โดยเกษตรกรมองถึงความปลอดภัยของตนเอง
และผู้บริโภคเป็นอันดับแรก รองลงไป ได้แก่ ราคาผลผลิตที่สูงกว่า ต้นทุนการผลิตที่ถูกกว่า มีตลาดรับซื้อที่
แน่นอนและ/หรือมีการประกันราคาขั้นตํ่าจากบริษัท การมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตพริกระบบปลอดภัย
(GAP) และเป็นนโยบายของรัฐ
แม้ว่าเกษตรกรกลุ่ม GAP จะยอมรับระบบการผลิตพริกปลอดภัย และได้รับใบรับรอง (Q) แล้วก็ตาม
แต่ผลการวิจัยนี้เผยให้เห็นว่า เมื่อเทียบเคียงการปฏิบัติของเกษตรกรกับมาตรฐานที่กําหนดของกรมวิชาการ
เกษตร (National Q-GAP) และมาตรฐาน GlobalG.A.P. (เทียบเคียงกับมาตรฐาน ThaiGAP) เกษตรกรส่วน
ใหญ่ยังปฏิบัติไม่ได้ตามมาตรฐานที่กําหนด มีเพียงมาตรฐานบางข้อในบางหมวดเท่านั้นที่เกษตรกรส่วนใหญ่
(มากกว่า ร้อยละ 80) มีความรู้ความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้แล้ว ได้แก่ มีการคํานวณอัตราการฉีดพ่น
สารเคมีและวิธีการเตรียมตามคําแนะนําบนฉลากสารเคมี มีความเข้าใจถึงผลจากการใช้สารเคมีในการปลูก
พริกต่อสิ่งแวดล้อม มีการวางแผนการผลิตโดยคํานึงถึงสภาพแวดล้อม มีนํ้าเพียงพอสําหรับการปลูกพริก
ตลอดปี และนํ้าที่ใช้ในแปลงผลิตพริกเป็นนํ้าที่มีคุณภาพ มีการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อตัดวงจรโรคและแมลง