Page 205 -
P. 205
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
199
และมีการเว้นระยะก่อนเก็บเกี่ยว/เก็บเกี่ยวตามระยะเวลาที่ปลอดภัยจากสารเคมีตกค้าง ภาชนะ/สถานที่เก็บ
ผลผลิตมีความปลอดภัยจากการปนเปื้อน และมีการเก็บสารเคมีไว้ในที่ปลอดภัย แม้ว่าเกษตรกรจะมีการกําจัด
ทิ้งหรือทําลายภาชนะบรรจุสารเคมีสูง แต่วิธีการจํากัดโดยการขายเป็นวิธีที่ไม่ถูกต้อง
สําหรับการปฏิบัติของเกษตรกร GAP ที่ต้องทําความเข้าใจเพิ่มเติม คือ การจดบันทึก ในเรื่อง การ
ปฏิบัติงานในแต่ละแปลง พันธุ์พริก การคลุกเมล็ด การใช้สารเคมีในแปลงกล้า และแปลงปลูก การใส่ปุ๋ ย
ประวัติแปลง ฯลฯ
กระบวนการในการตัดสินใจยอมรับการปลูกพริกระบบปลอดภัยของเกษตรกรผู้ปลูกแบบพริกทั่วไป
(Non-GAP)
ปัญหา
การปลูกพริกแบบทั่วไป พบว่าปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ในระดับมากมีอยู่ 2 เรื่องคือ โรค-แมลง
และยังไม่มีวิธีการในการป้ องกันกําจัดที่เหมาะสม และราคาผลผลิตพริกที่ตกตํ่าไม่เป็นที่พอใจ ไม่คุ้มทุน
ส่วนปัญหาที่เกษตรกรต้องใช้เงินลงทุนสูงในการซื้อปัจจัยการผลิต เช่น ปุ๋ ย สารเคมี ดินมีสภาพไม่เหมาะสม
(ดินเสื่อม) ในการปลูกพริก และผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด เกษตรกรมองว่าไม่เป็น
ปัญหามากนัก การที่จะให้เกษตรกรยอมรับการปลูกพริกระบบปลอดภัยนั้น ระบบการผลิตปลอดภัยจะต้อง
สามารถแก้ปัญหาเรื่องโรคและแมลง และราคาผลผลิตที่ตกตํ่าได้ เกษตรกรก็อาจยอมรับการผลิตพริกระบบ
ปลอดภัย แต่ถ้าตราบใดที่ระบบนี้ยังแก้ปัญหาไม่ได้ เกษตรกรยังไม่ให้ความสําคัญในการที่ จะต้องเปลี่ยนมา
ทําระบบปลอดภัยให้ยุ่งยาก ในเมื่อยังมีปัญหาโรคและแมลง ราคาผลผลิตก็ยังตกตํ่าเหมือนเดิม
สถานะของบุคคล/ระบบสังคม
ในระบบสังคมของเกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป แม้ว่าหมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรจะให้
ความสําคัญต่อการปลูกพริก และเกษตรกรมองว่าตนเองเป็นคนที่มีความกระตือรือร้นในการหาความรู้/
เทคโนโลยีการผลิตพริกมาพัฒนาตนเองเสมอ ตลอดจนเกษตรกรมีการร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อ
ปัญหาต่างๆในการปลูกพริก เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาในทุกโอกาสอยู่ในระดับมาก แต่ในหมู่บ้าน/
ตําบลของเกษตรกรยังไม่มีการรวมกลุ่มเพื่อแก้ปัญหาการปลูกพริกในหมู่บ้าน/ตําบล หรือมีกลุ่มผู้ผลิตพริก
ปลอดภัยอยู่น้อย ชี้ให้เห็นว่าระบบสังคมหมู่บ้าน/ตําบลของเกษตรกรขาดการรวมกลุ่มผู้ปลูกพริกซึ่งสะท้อน
จากคําให้สัมภาษณ์ของเกษตรกรที่ว่า “ต่างคนต่างทํา”
การเข้าถึงความรู้ในการปลูกพริกระบบปลอดภัย
เกษตรกรผู้ปลูกพริกแบบทั่วไป มีการเข้าร่วมกิจกรรมการจัดการให้ความรู้ในการผลิตพริกปลอดภัย
ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกรที่ประสบความสําเร็จในการผลิตพริกปลอดภัย และสอบถามข้อมูล
เพิ่มเติมจากแหล่งวิชาการอยู่ในระดับน้อยที่สุด ซึ่งส่งผลการรับรู้ความรู้ในการผลิตพริกระบบปลอดภัยของ
เกษตรกร เนื่องจากขาดการเข้าหาช่องทางที่จะได้รับความรู้