Page 201 -
P. 201

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         195



                                            ระบบการผลิตพริกปลอดภัยจังหวัดนครปฐม

                                  (Safety Chili Production Systems in Nakhon Pathom Province)

                                              สิรีรัตน์  เชษฐสุมน และสาคร  ชินวงค์

                                           Sireerat Chetsumon and Sakhon Chinnawong

                                                           บทคัดย่อ


                  งานวิจัยนี้มุ่งศึกษา 1) สภาวการณ์ปัจจุบันในการผลิตและการจัดการของเกษตรกรผู้ผลิตพริกใน

                 จังหวัดนครปฐม 2 กลุ่ม ได้แก่ เกษตรกรผู้ผลิตพริกภายใต้แผนโครงการการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี ( Good
                 Agricultural Practice,  GAP)  (เกษตรกร GAP) และเกษตรกรผู้ที่ไม่ได้ผลิตภายใต้ระบบ  GAP  (เกษตรกร

                 ผู้ผลิตพริกทั่วไป) 2) การได้รับความรู้/เทคโนโลยีและการนําความรู้ที่ได้รับไปใช้ของเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม

                 และ 3) ปัญหาและความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ ผู้ส่งออก และตลาดภายในและต่างประเทศ
                 และหน่วยงานภาครัฐ


                  พบว่าพริกไม่ได้ปลูกแบบพืชเชิงเดี่ยว แต่ปลูกเป็นพืชหลักในระบบการปลูกพืชแทรก     (interapping)

                 และในระบบพืชหมุนเวียน (crop rotation systems) เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม มีปัญหาร่วมกันคือ การระบาดของ
                 โรคและแมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรคกุ้งแห้งในฤดูฝนและเพลี้ยไฟในฤดูแล้ง ต้นทุนปัจจัยการผลิตสูง และ

                 ราคาผลผลิตไม่แน่นอน รายได้สุทธิของเกษตรกร GAP สูงกว่าเกษตรกรที่ผลิตพริกแบบทั่วไปประมาณ 33 %

                 ชี้ให้เห็นถึงประสิทธิผลของการยอมรับระบบการปฏิบัติทางการเกษตรดีได้ระดับหนึ่ง เกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม
                 ขายผลผลิตสดให้แก่ผู้รวบรวมผลผลิตในหมู่บ้าน/ตําบล ณ แปลงปลูก โดยไม่มีการคัดเกรดหรือควบคุมความ

                 ปลอดภัยและคุณภาพใดๆ


                  แม้ว่าเกษตรกร      GAP จะได้ใบรับรอง Q GAP แต่ผลการวิจัยเผยให้เห็นว่า เกษตรกร  GAP ส่วนใหญ่
                 ยังไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐาน  GAP  ได้อย่างสมบูรณ์ ไม่ว่าจะเป็นมาตรฐาน  Q GAP  หรือ Thai GAP

                 (เทียบเคียง Global  G.A.P.)  เกษตรกรมากกว่า 80  %  สามารถปฏิบัติได้ตามมาตรฐาน  GAP  ในบางข้อ แม้

                 กระนั้นยังมีอีหลายข้อที่เกษตรกรจะต้องปฏิบัติให้ได้ตามมาตรฐาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สารเคมีและการ
                 ปฏิบัติงานในฟาร์มในส่วนการเก็บบันทึกข้อมูล


                  สําหรับเกษตรกรผู้ปลูกพริกทั่วไป ได้มีการสืบหาปัจจัยที่ควบคุมการยอมรับการปฏิบัติทาง
                 การเกษตรที่ดี เกษตรกรกกลุ่มนี้เชื่อว่าปัญหาโรคและแมลงในการผลิตในระบบการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี

                 อาจจะแย่ยิ่งกว่าวิธีการผลิตเดิมที่ตนปฏิบัติอยู่ เกษตรกรกลุ่มนี้มีปัญหารุนแรง 2 เรื่อง คือการระบาดของโรค

                 แมลง โดยยังไม่มีวิธีป้องกันกําจัดที่ได้ผล และราคาผลผลิตตกตํ่าไม่เป็นที่พอใจ ซึ่งปัญหาทั้งสองจะต้อง

                 ได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมในการผลิตพริกภายใต้ระบบ  GAP  เพื่อได้รับการยอมรับจากเกษตรกรผู้ผลิต
                 พริกแบบทั่วไป
   196   197   198   199   200   201   202   203   204   205   206