Page 209 -
P. 209
โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
203
รายการวิทยุ รูปแบบที่ต้องการในระดับมาก ได้แก่ เอกสารเผยแพร่ทางการเกษตร การฝึกอบรม ผ่านผู้นํา
เกษตรกร และผ่านรายการโทรทัศน์ สําหรับหนังสือพิมพ์/วารสารเกษตร เกษตรกรกลุ่ม GAP มีความต้องการ
ในระดับปานกลาง ในขณะที่เกษตรกรกลุ่ม Non-GAP มีความต้องการในระดับน้อ ย เนื่องจากพื้นฐานทาง
การศึกษาตํ่ากว่าเกษตรกร GAP จึงมีทักษะในการอ่านไม่ค่อยดีนัก
ปัญหาและความต้องการของผู้บริโภค ผู้ประกอบการ และตลาดและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง
ผู้บริโภค
ผู้บริโภคมีความรู้ในเรื่องความปลอดภัยของผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากพริกในระดับปานกลาง ไม่ว่า
จะเป็นเรื่องสารพิษตกค้างในพริกสด เช่น สารเคมีป้ องกันกําจัดโรคและแมลง สารปนเปื้อนในพริกแห้ง/พริก
ป่น เช่น อะฟลาทอกซินหรือเชื้อรา ตราสัญลักษณ์แสดงความปลอดภัยของผลผลิตพริก ( Q) ตราสัญลักษณ์
แสดงความปลอดภัยของผลิตภัณฑ์พริก ( GMP, HACCP และ อย. ส่วนใหญ่รู้จักแต่ อย.) หรือสารกันบูดเพื่อ
ยืดอายุผลิตภัณฑ์
ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่า พริกสด พริกแห้ง พริกป่น และพริกแกงที่มีขายอยู่ในท้องตลาด
ทั่วไป มีคุณภาพ ราคาและความปลอดภัยในระดับปานกลาง มีเพียงพริกสดที่วางขายในตลาดสดเท่านั้นที่
ผู้บริโภคเชื่อว่า มีคุณภาพดี ส่วนพริกสด พริกแห้ง พริกป่น และพริกแกงที่วางขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต
ผู้บริโภคเชื่อว่ามีคุณภาพดี ราคาแพง และมีความปลอดภัยสูง
ผู้บริโภคไม่ค่อยมีความมั่นใจในความปลอดภัยของพริกที่มีจําหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และต้องการ
มากที่จะซื้อผลผลิตพริกคัดแยกคุณภาพและมีการรับรองความปลอดภัย แม้ว่าจะมีราคาสูงกว่าท้องตลาด
ทั่วไป นอกจากนี้ยังมีความต้องการมากที่จะให้มีรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์จากพริก และระบบการตรวจสอบ
ย้อนกลับได้กรณีผลผลิตพริกหรือผลิตภัณฑ์พริกส่งผลเสียต่อผู้บริโภค แม้กระนั้นผู้บริโภคส่วนใหญ่นิยมซื้อ
พริกสด พริกแห้ง พริกแกง และนํ้าพริก ที่ตลาดสดมากที่สุด รองลงไปเป็นตลาดนัด ร้านขายของชําและ
ซุปเปอร์มาร์เก็ต ส่วนผลิตภัณฑ์จากพริกนิยมซื้อจากซุปเปอร์มาร์เก็ตมากที่สุด รองลงไปเป็นร้านขายของชํา
ตลาดสด และตลาดนัด
ผู้บริโภคมองว่า ผลผลิตพริกสดส่วนใหญ่จะมีปัญหาสารเคมีตกค้างในผลผลิต เช่น สารเคมีที่ใช้ใน
ป้องกันการกําจัดแมลง และในผลผลิตพริกที่แปรรูป เช่นในพริกป่นที่ร้านอาหารทั่วไป จะมีการปนเปื้อน
ของเชื้อราในพริก ซึ่งอาจเกิดจากกระบวนการแปรรูปพริกหรือการเก็บรักษา
ผู้บริโภคมีความต้องการบริโภคพริกปลอดภัย เพราะเห็นว่าการรับประทานอาหารที่ปลอดภัยจะ
ส่งผลให้สุขภาพแข็งแรง จึงมีความต้องการให้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง มีมาตรการในการควบคุม ดูแล
และตรวจสอบคุณภาพพริกที่วางขายในตลาด หรือร้านค้าต่างๆ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค