Page 211 -
P. 211

โครงการหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ด้านการเกษตร เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                                                                                                         205



                 ของเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตร และการตรวจระดับการปฏิบัติของเกษตรกรโดยกรมวิชาการเกษตร

                 แผนการปฏิบัติงานในพื้นที่ขาดความชัดเจนไม่มีการจําแนกเกษตรกรตามความพร้อมในการปรับเปลี่ยนไปสู่
                 การผลิตระบบปลอดภัย GAP แม้ว่าระบบจะเป็นมาตรฐานแล้วแต่ในการปฏิบัติจริงของเกษตรกรในบางส่วน

                 ยังไม่เป็นไปตามข้อกําหนดและเงื่อนไข รวมทั้งจํานวนผู้ตรวจแปลงไม่เพียงพอ  ผู้ตรวจแปลงขาดความรู้และ

                 ทักษะในการตรวจแปลง ขาดงบประมาณในการไปตรวจ เช่น  พาหนะ นํ้ามันเชื้อเพลิง และในการทํางานจะ
                 เสียเวลามากในการหาตําแหน่งแปลง ดังนั้นจะต้องมีการอบรมให้ความรู้กับผู้ตรวจแปลงให้มีคุณภาพมากขึ้น

                 และจํานวนคนเพิ่มขึ้น และในการปฏิบัติงานในพื้นที่หลายหน่วยงานต้องทํางานแบบบูรณาการ เพื่อลด

                 ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และใช้เวลาอย่างคุ้มค่า

                  ในระดับปฏิบัติ      หลังจากให้ความรู้ในการผลิตตามระบบปลอดภัยแล้ว เจ้าหน้าที่/นักวิชาการยัง ขาด

                 การติดตามการปฏิบัติในแปลงของเกษตรกรภายหลังการฝึกอบรม  อาจจะต้องใช้ระบบพี่เลี้ยงเกษตรกร หรือ

                 การรวมกลุ่ม และการติดตามผลโดยใช้ระบบกลุ่ม ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคโนโลยีการผลิตในระบบ

                 ปลอดภัย

                 ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย

                        ในระดับพื้นที่


                        ยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วน (Strategic Partnership)


                  จังหวัดนครปฐมควรจะต้องวางยุทธศาสตร์การเป็นหุ้นส่วน      (Strategic Partnership) ระหว่างผู้ส่งออก
                 ผู้ประกอบการ และเกษตรกร ในรูปแบบการทําการเกษตรแบบมีพันธะสัญญา  (Contract Farming) โดยมีการ

                 ประกันราคาขั้นตํ่าแต่ไม่เป็นราคาที่ตายตัวตลอดฤดูกาลผลิต จะต้องมีความยืดหยุ่นในบางช่วงที่ราคาผลผลิต

                 ในท้องตลาดสูงกว่าราคาประกันขั้นตํ่ามาก ผู้รับซื้ออาจจะต้องมีการปรับราคาขึ้นให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม
                 เพราะหากผู้รับซื้อไม่ปรับราคาให้ในสัดส่วนที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะเอาผลผลิตไปขายในท้องตลาด เพื่อได้

                 ราคาที่สูงกว่า

                  ผลผลิตที่ตกเกรดจะต้องมีแหล่งรองรับและขายได้ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาดทั่วไป แนวทางหนึ่งที่

                 สามารถทําได้ คือ บริษัทสวิฟท์ และ  หจก. ชัชวาลย์ฯ คัดพริกสดส่งออกในราคาประกัน ส่วนพริกที่ตกเกรด

                 อาจส่งขายต่อไปให้กับ หจก.นํ้าพริกแม่ศรี หรือแม่เล็ก(สุบิน)ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด เพื่อแปรรูปเป็นพริก
                 แกงหรือนํ้าพริกต่อไป ซึ่งจะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการตรวจสารเคมีตกค้าง เพราะไม่จําเป็นต้องตรวจซํ้า

                 อีก หรือขายให้กับผู้ประกอบการอื่นๆ ของจังหวัดนครปฐม เช่น โต๊ะจีน ตลาดในประเทศ


                        นอกจากนี้จังหวัดนครปฐมขอความร่วมมือจากตลาดปฐมมงคลและตลาดทุ่งพระเมรุ ในการจัดแยก
                 โซนสินค้าผักปลอดภัย ซึ่งในระยะแรกอาจเป็นพื้นที่เล็กๆ โดยจะต้องมีตรารับรองมาตรฐานความปลอดภัย

                 (Q) ที่เห็นได้อย่างชัดเจน และมีการควบคุมให้ผักที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยจริงๆ เท่านั้นที่สามารถเข้าสู่

                 โซนนี้ได้ ปัญหาที่ต้องเฝ้าระวังในขั้นนี้ก็คือ การสวม  Q  หรือนําผักที่ไม่ได้ปลูกแบบทั่วไปมาขายโดยใช้
   206   207   208   209   210   211   212   213   214   215   216